ยาแก้ปวด หรือที่เราเรียกกันว่ายาพาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้าน มักใช้เป็นยาแก้ปวดทั่วไปตามที่เรารู้จัก สามารถบรรเทาอาการปวดทั่วไป เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อเสื่อม โดยยาแก้ปวดทั่วไปนี้ไม่อาจรักษาอาการที่มีความรุนแรงได้ สามารถทานยาเพื่อรักษาอาการปวดเล็กน้อยไปถึงปานกลางเท่านั้น บางอาการก็ไม่สามารถทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาได้ จะต้องใช้ยาตัวอื่นเพื่อรักษาอาการให้เหมาะสม ซึ่งการใช้ยาที่ไม่ตรงต่ออาการที่เหมาะสมจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่า ในบทความนี้เราจะพาท่านไปพบกับการใช้ยาที่ถูกต้องให้ตรงกับลักษณะอาการปวด และผลข้างเคียงของการใช้ยา
เลือกใช้ยาแก้ปวดให้เหมาะสมกับอาการปวด
ยาแก้ปวดเป็นคำที่ไว้ใช้เรียกกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งอาการปวดมีอยู่หลายอาการเช่น ปวดหัว ปวดฟัน ปวดข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดที่ยกตัวอย่างมานี้เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ทำให้จะต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมต่ออาการเพื่อบรรเทา อย่างการปวดศีรษะเล็กน้อยก็ควรใช้ยาพาราเซมอลเพื่อบรรเทา ทำให้ผลข้างเคียงของการใช้ยามีผลน้อยที่สุดแทนที่เราจะทานยาตัวอื่นที่มีผลข้างเคียงมากกว่าทำให้เป็นผลเสียมากกว่า
ยาพาราเซตามอล
ยาแก้ปวดพาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้านออกฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยตัวยาแก้ปวดตัวนี้จะไปยับยั้งการสร้างโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการปวด และจะไปเพิ่มระดับของเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ทำให้บรรเทาอาการเจ็บปวดได้ ยาพาราเซตามอลจึงเหมาะในการกินเพื่อลดไข้ แก้ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดฟัน
- ระวังการกินยาเกินขนาด ควรกินเว้นระยะห่าง 4 ชม. และไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม ต่อ 1 วัน
- หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วันแล้วยังไม่หาย ควรพบแพทย์
ผลข้างเคียงของยาแก้ปวด
การกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลควรกินในขนาดที่เหมาะสม และไม่เกินปริมาณที่ควรกินต่อ 1 วัน การกินที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของยา มากกว่าที่จะบรรเทาอาการปวด โดยผลข้างเคียงของยาพาราเซตามอลมีดังนี้
- กินยาตอนมีไข้เท่านั้น ห้ามกินยาเพื่อกันไข้
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย
- หากกินยาเกินขนาดจะส่งผลเสียต่อตับทำให้ทำงานผิดปกติ และอาจมีอาการอาเจียน เบื่ออาหาร
- ห้ามผู้แพ้ยาพาราเซตามอลกิน หากผู้กินแพ้ยาพาราเซตามอล จะเกิดอาการผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
พอนสแตน 500
ยาแก้ปวดพอนสแตน มีตัวยาสำคัญคือ กรดเมเฟนามิก (Mefenamic Acid) ตัวยามีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ลดอาการอักเสบ และลดไข้ได้ อยู่ในกลุ่มยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอนไซม์ COX (Cyclo-oxygenase) ที่ทำให้รู้สึกมีอาการปวด เป็นยาที่มักใช้กันในกลุ่มอาการปวดท้องประจำเดือน และยานี้ก็ยังสามารถบรรเทาอาการปวดอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดไมเกรน
- ควรกินยาหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามเยอะๆ
- กินยาไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อครั้ง ทุก 6 ชั่วโมง ไม่ควรกินเกิน 3 ครั้งต่อวัน
ผลข้างเคียงของยาแก้ปวด
เนื่องจากกลุ่มยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มีฤทธิ์ที่ค่อนข้างแรง ทำให้หากกินยาแก้ปวดตัวนี้บ่อยอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ ผลข้างเคียงของพอนสแตน 500 มีดังนี้
- กลุ่มยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มีผลข้างเคียงพบได้บ่อยคือ ระคายกระเพาะอาหาร
- หากใช้ยาเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคไตได้ ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ
- เมื่อกินแล้วอาจมีอาการที่ไม่พึงประสงค์อย่างเช่น อาการมึนงง วิงเวียนศีรษะ
ไอบูโพรเฟน
ยาไอบูโพรเฟน เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มยาบรรเทาอาการอีกเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เหมือนกับยาพอนสแตน 500 เป็นยาที่สามารถกินเพื่อลดไข้ อาการปวดศีรษะรุนแรง บรรเทาข้ออักเสบ และยังสามารถบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ โดยการยับยั้งเอนไซม์ COX (Cyclo-oxygenase) ที่เป็นเอนไซม์ทำให้รู้สึกปวด
- รับประทานยาหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามเยอะ ๆ
- รับประทานยาครั้งละ 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานเกิน 1.2 กรัม ต่อวัน
ผลข้างเคียงของยาแก้ปวด
เนื่องจากกลุ่มยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มีฤทธิ์ที่ค่อนข้างแรง ทำให้หากกินยาแก้ปวดตัวนี้บ่อยอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้
- ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์ที่อาจทำให้ระบบทางเดินอาหารระคายเคืองได้ อย่างเช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
- ยาไอบูโพรเฟนมีผลข้างเคียงต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูง และใจสั่น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดควรระมัดระวัง
- เมื่อรับประทานยาแล้วอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก
ยาแก้อักเสบ
ยาแก้อักเสบลดบวม ยากลุ่ม NASIADs ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อแต่อย่างใด มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดจากสาเหตุต่าง ๆ และช่วยบรรเทาอาการอักเสบเพียงเท่านั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ เป็นยาที่มีฤทธิ์ค่อนข้างแรง อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
- ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนกินยา เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
- ควรกินยาหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามเยอะ ๆ
- ดูขนาดที่ควรกินต่อ 1 วัน
ผลข้างเคียงของยาแก้ปวด
กลุ่มยาต้านการอักเสบ nsaids คือ ยาที่มีฤทธิ์ค่อนข้างแรง ดังนั้นอาจมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น เช่น
- ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
- ผลข้างเคียงต่อระบบประสาท อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- ผลข้างเคียงต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้บวมน้ำ เกิดความดันโลหิตสูง
อาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
อาการปวด หรือการอักเสบ ที่เป็นเวลานานผิดปกติ กินยาเป็นเวลาติดต่อกัน แล้วอาการปวดยังไม่บรรเทาลง อาจเกิดอาการผิดปกติ ควรพบแพทย์ เพื่อทำการปรึกษาและรักษาโดยแพทย์ เพราะการกินยาแก้ปวดเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ การเข้าไปพบแพทย์จึงมีความปลอดภัยกว่าการกินยาเอง
สรุปยาแก้ปวด
ยาแก้ปวดนั้นมีอยู่หลายชนิด ทำให้ก่อนจะกินยาตัวใด ๆ จะต้องหาข้อมูลให้ดีเสียก่อน เพราะหากกินยาที่มีฤทธิ์แรงกว่าอาการที่เป็นอยู่ อาจส่งผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกายได้ และควรอ่านคำแนะนำการกินยาให้ดีว่าควรกินยาครั้งละกี่มิลลิกรัม ไม่ควรกินยาเกินขนาด หากใช้เป็นเวลานานแล้วยังไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ควรเข้าไปพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาและรักษาอาการ