สินเชื่อคือ

หากไม่เคยขอสินเชื่อเลย และเพิ่งเริ่มทำงานออฟฟิศเป็นครั้งแรก คงเคยได้ยินเพื่อนร่วมงาน ต่างพูดถึงเกี่ยวกับการขอสินเชื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต ทำให้หลายคนเกิดความสนใจอยากสมัครขอสินเชื่อเพื่อบริหารสภาพคล่องกันแน่นอน

ในบทความนี้เราจึงชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับสินเชื่อกันให้มากขึ้นว่าตกลงแล้วสินเชื่อ และวงเงินสินเชื่อคืออะไร เพื่อให้พนักงานประจำหน้าใหม่ เข้าใจผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้มากขึ้น พร้อมบริหารหนี้สินได้อย่างคล่องตัว!

ชวนทำความรู้จัก สินเชื่อและวงเงินสินเชื่อคืออะไร

สินเชื่อหมายถึง การก่อหนี้โดยการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือมิใช่ธนาคาร (non-bank) และยังรวมไปถึงการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งผลิตภัณฑ์สินเชื่อมีหลายรูปแบบ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่ออเนกประสงค์ เป็นต้น

ส่วนวงเงินสินเชื่อ คือ จำนวนเงินกู้สูงสุดที่สถาบันการเงินเสนอให้แก่ผู้กู้ ซึ่งแต่ละแห่งต่างเสนอวงเงินกู้แตกต่างกันออกไป เช่น สินเชื่อ Promise อนุมัติวงเงิน 1.5 – 5 เท่าของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท*

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

ดอกเบี้ย 15%-25% ต่อปี

*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนการสมัครที่ promise.co.th

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

สินเชื่อเบื้องต้นน่ารู้ แต่ละแบบต่างกันอย่างไรบ้าง

ทราบกันไปแล้วว่าสินเชื่อหมายถึงอะไร และมีแหล่งขอเงินกู้ที่ไหน ? แต่ความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อเบื้องต้นไม่ได้มีเพียงแค่เข้าใจความหมายของสินเชื่อ หรือวงเงินสินเชื่อคืออะไร เพียงเท่านั้น เพราะยังมีประเภทสินเชื่อที่ควรทำความรู้จักต่าง ๆ ซึ่งจะมีสินเชื่ออะไรบ้างนั้นมาศึกษากันได้เลย

1. สินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 25 ต่อปี ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าสินเชื่อส่วนบุคคล คือหนี้นอกระบบ เพราะคิดว่าขอกู้ง่าย และอนุมัติไวเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วสินเชื่อส่วนบุคคลสถาบันการเงินจะอนุมัติอย่างรอบคอบ พร้อมเสนอวงเงินสินเชื่อที่คาดว่าผู้กู้จะชำระเงินต้นคืนไหว ไม่ใช้จ่ายเกินตัว

โดยสถาบันการเงินจะพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล จากปัจจัยหลัก ๆ 2 อย่าง คือ รายได้และอาชีพของผู้สมัคร ซึ่งรายได้ผู้สมัครสินเชื่อส่วนบุคคลไม่จำเป็นต้องมีเงินเดือนถึง 15,000 บาท เพราะสินเชื่อส่วนบุคคล อย่าง Promise แม้เงินเดือนเริ่มต้น 8,000 บาท ก็สมัครได้แล้ว และหากผู้สมัครทำอาชีพมั่นคง รับเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน ย่อมมีโอกาสผ่านการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

ทั้งนี้ ประเภทของสินเชื่อส่วนบุคคลมีอยู่ทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ สินเชื่อเช่าซื้อสินค้าเป็นรายชิ้น บัตรกดเงินสด และสินเชื่อรับเงินสดไปทั้งก้อน ซึ่งสินเชื่อส่วนบุคคล Promise เป็นแบบที่ 3 โดยหลังจากสถาบันการเงินแจ้งว่าคุณผ่านการพิจารณา ก็จะโอนเงินก้อนเข้าบัญชีธนาคารของคุณโดยทันที

2. สินเชื่ออเนกประสงค์

สินเชื่ออเนกประสงค์คล้ายกับสินเชื่อส่วนบุคคล เพียงแต่คิดอัตราดอกเบี้ยไม่ถึง 25% ต่อปี และระบุเงื่อนไขในการกู้ซับซ้อนกว่า เช่น ต้องทำงานในสาขาอาชีพที่กำหนด, รายได้ต่อเดือนมากกว่า 15,000 บาทขึ้นไป  ถ้าสงสัยว่าตัวอย่างของสินเชื่ออเนกประสงค์มีอะไรบ้าง ให้นึกถึงสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือสินเชื่อเงินก้อน เป็นต้น

หากใครกำลังตั้งคำถามว่าสินเชื่ออเนกประสงค์มีกี่ประเภท ? และมี 3 รูปแบบเหมือนกับสินเชื่อส่วนบุคคลหรือไม่? คำตอบคือ สินเชื่ออเนกประสงค์มีเพียง 2 แบบ ได้แก่ สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันและสินเชื่อแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งสินเชื่ออเนกประสงค์แบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน สถาบันการเงินมีโอกาสอนุมัติสูง พร้อมเสนอวงเงินกู้มากกว่า

3. สินเชื่อบ้าน

สินเชื่อบ้านหมายถึง เงินกู้ที่สถาบันการเงินอนุมัติแก่ผู้กู้เพื่อซื้อบ้าน ซึ่งในช่วง 3 ปีแรกสินเชื่อบ้านจะเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ทำให้ดอกเบี้ยบ้านน้อยกว่าปกติ แต่เมื่อระยะเวลาโปรโมชันจบลง ดอกเบี้ยบ้านจะปรับเพิ่มขึ้นไปคิดในเรตดอกเบี้ยลอยตัว ผู้กู้ซื้อบ้านจึงต้องขอรีเทนชั่นกับธนาคารเดิม หรือขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารแห่งใหม่ หรือที่เรียกกันว่ารีไฟแนนซ์เป็นประจำทุก 3 ปี

3 ข้อดีสินเชื่อส่วนบุคคลที่พนักงานประจำควรรู้ คืออะไรบ้าง 

ก่อนที่จะไปขอสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อนำมาบริหารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็ควรศึกษาความรู้สินเชื่อเบื้องต้นว่าข้อดีของสินเชื่อมีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมดปัญหาเป็นหนี้เรื้อรังกันได้เลย

1.ช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องง่าย

แม้ว่าหลายบริษัทจะมีอุปกรณ์ในสำนักงานที่ช่วยให้พนักงานออฟฟิศทำงานได้อย่างสะดวกสบายแล้วก็จริง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์เงินเดือนต่างต้องซื้อของใช้ที่จำเป็นต่อการทำงานในรูปแบบ work from home เช่น แล็ปท็อป หรือโน้ตบุ๊ค และหลายคนไม่มีเงินสดเพียงพอสำหรับซื้อของเหล่านี้ ซึ่งหากได้เงินก้อนจากสินเชื่อส่วนบุคคลมาแล้ว ก็สามารถใช้เงินกู้ออกไปก่อน แล้วค่อยชำระเงินคืนภายหลังได้

2.สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน

หลายคนเริ่มทำงานแรก ไม่เคยมีเงินเก็บมาก่อน เวลาที่ต้องย้ายมาทำงานในตัวเมือง ย่อมประสบกับปัญหาไม่มีเงินจ่ายค่าหอ ค่าอาหาร รวมไปถึงค่าเดินทางไปทำงาน แต่หากขอสินเชื่อส่วนบุคคลแล้ว ก็จะช่วยให้คุณมีเงินใช้จ่ายไปจนถึงวันเงินเดือนออกได้ ทั้งนี้หากอายุงานไม่ถึงเกณฑ์ที่ทางสถาบันการเงินนั้นๆ กำหนดก็มีโอกาสที่จะไม่ผ่านการอนุมัติได้

3.ปิดหนี้นอกระบบ

ก่อนเริ่มทำงานประจำ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ก่อหนี้นอกระบบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเรียนต่อ ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยจำนวนมาก แต่เมื่อได้งานประจำทำแล้ว แม้ว่าเริ่มทำงานไปได้เพียง 1 เดือน ก็สามารถขอสินเชื่อส่วนบุคคล Promise เพื่อมาปิดหนี้นอกระบบได้ โดยผลการอนุมัติจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของทางบริษัท

ข้อควรระวังสินเชื่อที่พนักงานประจำควรรู้

วงเงินสินเชื่อคือ

แม้ว่าสินเชื่อจะมีข้อดีต่าง ๆ มากมาย แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน ซึ่งหากว่าคุณไม่วางแผนการใช้จ่ายให้ดี ก็อาจมีปัญหาเวลาต้องชำระบิลรายเดือนได้ โดยข้อควรระวังของสินเชื่อคือ

1.ชำระขั้นต่ำ

สินเชื่อส่วนบุคคลเสนอการชำระขั้นต่ำ 3% ส่วนบัตรเครดิตกำหนดให้ผู้กู้จ่ายขั้นต่ำ 8% ของยอดการใช้จ่าย จะเห็นได้ว่ายอดการชำระขั้นต่ำน้อยมาก เมื่อเทียบกับการจ่ายเต็มจำนวน ทำให้หลายคนเลือกจ่ายขั้นต่ำ และใช้เงินเดือนที่เหลือไปกับค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่น ๆ ซึ่งยิ่งทำให้ในงวดต่อไปปิดหนี้ยากขึ้น เนื่องจากยอดคงเหลือจากการชำระในงวดก่อน จะถูกนำไปคิดรวมกับดอกเบี้ยเป็นรายวันในงวดถัดไป

2.ใช้จ่ายเกินตัว

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าวงเงินสินเชื่อ คือ จำนวนเงินสูงสุดที่สถาบันการเงินอนุมัติให้ผู้กู้วางแผนใช้จ่ายอย่างเพียงพอในแต่ละรอบบิล แต่ผู้กู้หลายคนใช้จ่ายเกินวงเงินที่ได้รับอนุมัติ เช่น วงเงิน 29,000 บาท แต่เมื่อต้องการซื้อสินค้าอื่น ๆ กลับโทรไปแจ้งให้สถาบันการเงินเพิ่มวงเงิน ทำให้เมื่อถึงเวลาต้องชำระเงินคืน ก็ไม่มีเงินจ่ายได้

สรุป

ความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อเบื้องต้นที่ได้นำเสนอมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หากคุณไม่เคยขอสินเชื่อมาก่อนเลย ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมว่ายังมีสินเชื่ออะไรอีกบ้าง และแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้การขอสินเชื่อครั้งแรกเป็นเรื่องง่าย ไม่ติดขัดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง

By content