ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ในเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไปนี้ได้รวบรวมความสำคัญของกระบวนการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ว่ามีความสำคัญอย่างไร หากระบบการทำงานในร่างกายของผู้หญิงขาดของฮอร์โมนเอสโตรเจนไปแล้ว จะสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติหรือไม่ แล้วจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลภายในร่างกายมากน้อยเพียงใด



ทำความรู้จักกับฮอร์โมนเอสโตรเจน คืออะไร

ฮอร์โมน (Hormones) เป็นสารเคมีภายในร่างกายที่ถูกร่างกายของเราสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในการสื่อสาร ควบคุมการทำงานกับระบบต่างๆของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและปกติ ซึ่งทั้งเพศชาย – เพศหญิงต่างก็มีฮอร์โมนในการทำงานแตกต่างกัน ตามแต่ละช่วงอายุ ซึ่งในเพศหญิงจึงมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) กับโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำหน้าที่อยู่ในร่างกายนั้นเอง 

Estrogen ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนในร่างกายของเพศหญิงที่ส่วนใหญ่ผลิตมาจากรังไข่ ในบางท่านอาจจะผลิตมาจากต่อมหมวกไต – เซลล์ไขมันบ้างเล็กน้อย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต ทั้งการสืบพันธุ์ให้ร่างกายผู้หญิงมีการเติบโตเป็นผู้หญิงมากขึ้น ทั้งยังการควบคุมอารมณ์ด้วยเช่นกัน ฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเติบโตในเพศหญิง ตัวอย่างเช่น การมีประจำเดือนเมื่อเด็กเริ่มก้าวเข้าสู่วัยรุ่น การตกไข่ การมีหน้าอก(เต้านม) สะโพกผาย การตั้งครรภ์ และรวมถึงการหมดประจำเดือนที่เกี่ยวข้องกับมวลกระดูกที่ลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแอ อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายขึ้น เป็นต้น


ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกายผู้หญิง

ฮอร์โมนเอสโตรเจน คืออะไร

 

ความสำคัญของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีหน้าที่ในการดูแลควบคุมการเจริญเติบโตของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือน ระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย และภาวการณ์หมดประจำเดือนของผู้หญิง รวมทั้งหน้าที่สำคัญอื่น ๆ ดังเช่น 

หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเอสโตรเจน  :  ดูแลระบบการเจริญเติบโตที่เกี่ยวข้องเพศหญิง เช่น

  • การกระตุ้นระบบการเจริญเติบโตของรังไข่ – ถุงรังไข่ 
  • ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก ท่อนำไข่ ปีกมดลูกได้มีการทำงานได้อย่างเป็นปกติ สามารถเคลื่อนไหวด้วยการบีบรัด หรือหดตัวได้ดี 
  • ช่วยให้มดลูกมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งเพิ่มเซลล์ให้เกิดการแบ่งตัว ส่งผลให้ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกหนามากขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นเซลล์ในบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก ปีกมดลูกให้สามารถหลั่งน้ำเมือก / ตกขาวใสในปริมาณมาก เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิได้อีกด้วย

หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเอสโตรเจน  :  ดูแลระบบร่างกาย

  • การดูแลระบบการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด เพื่อควบคุมการทำงานในการผลิตคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นตัวควบคุมการระบบคอเลสเตอรอลที่ดี(HDL) กับคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  • ช่วยให้ร่างกายสามารถบ่งบอกลักษณะทางเพศ เช่น ช่วงไหลแคบ มีสะโพกผาย การมีหน้าอก ร่างกายมีไขมันในส่วนหน้าท้องสะโพก รูปร่างผิวพรรณเต่งตึง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่มีเสียงแหลม หวานตามแต่ละกรรมพันธุ์

หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเอสโตรเจน  :  ดูแลระบบกระดูก กล้ามเนื้อ 

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีหน้าที่ในการควบคุมสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย ช่วยในการยับยั้งการสลายของเนื้อกระดูก รวมทั้งการเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ให้เข้าสู่กระแสเลือด สามารถเกาะกับเนื้อกระดูกได้ดีขึ้น ทำให้กระดูกมีเนื้อ รวมถึงมวลกระดูกที่มีความแข็งแรงหนาแน่น ไม่แตกหักง่ายนั้นเอง
  • ช่วยในการรรักษาคอลลาเจนในร่างกายได้มีความยืดหยุ่นให้กับสภาพผิวทุกส่วนของร่างกาย ไม่ทำให้ผิวเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควรหลังจากอายุเข้าสู่ 30 ปีขึ้นไป รวมไปจนถึงระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อเช่นเดียวกัน
  • เมื่อเข้าสู่วัยเจริญเติบโตจากเด็กสาวเข้าสู่วัยมีประจำเดือน ร่างกายได้เกิดการสร้างรังไข่จนเกิดฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงทำให้เกิดการหยุดเจริญเติบโตของกระดูกในทางยาวก่อให้เกิดการหยุดสูงนั้นเอง

หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเอสโตรเจน :  ดูแลระบบประสาทและสมอง

  • มีส่วนของเรื่องระบบประสาท และสมอง ซึ่งมีผลต่อต่อมใต้สมองส่วนหน้า ช่วยรักษาเกี่ยวกับความทรงจำ รักษาอารมณ์ให้คงที่เป็นปกติ

หากร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ จะมีอันตรายต่อร่างกายอย่างไร

ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป

 

อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งช่วยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสมดุลการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมถึงการควบคุมดูแลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ทั้งการดูแลผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวหย่นก่อนวัยอันควร แต่ถ้าร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป หรือน้อยกว่าปกติ ผลเหล่านี้อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา ดังนี้ 

หากฮอร์โมนเอสโตรเจน มีระดับความสมดุลมากเกินไป จะส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้

  • ร่างกายเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้เป็นคนนอนไม่หลับ หลับยากมากขึ้น รวมถึงส่งผลกระทบให้ร่างกายเกิดอารมณ์แปรปรวนง่ายเกินไป
  • หากเพศหญิงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป จะทำให้เป็นผู้มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมถึงอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน เช่น ตัวบวม น้ำหนักมากขึ้นผิดปกติ ปวดหัวไมเกรน มีความอยากอาหารมากขึ้น คัดเต้านม เป็นต้น บางรายอาจเกิดเนื้องอกในบางแหล่ง เช่น เนื้องอกในมดลูก – รังไข่ และในถุงน้ำเต้านม 

หากฮอร์โมนเอสโตรเจน มีระดับความสมดุลน้อยเกินไป จะส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้

  • เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับความสมดุลต่ำ จะส่งผลให้เกิดปัญหาการนอนหลับยาก ก่อให้เกิดอารมณ์เครียดง่าย ทำงาน หรือการเรียนหนังสือไม่เป็นสมาธิ ขี้หลงขี้ลืมง่าย บางท่านอาจกระทบถึงการทำงานจนเกิดภาวะซึมเศร้า 
  • ส่งผลให้ช่องคลอดฝ่อ เกิดความยืดหยุ่นในการหลังสารหล่อลื่นช้าลง ทั้งยังส่งผลต่อความหนาแน่นของกระดูกลดลง

การทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน กับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ต่างกันอย่างไร

ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่างเป็นฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย ซึ่งทั้ง 2 ชนิดต่างมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเพศหญิงอย่างเป็นปกติ ความแตกต่างของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนั้นจะมีด้วยกัน ดังนี้

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Hormones) จะทำหน้าที่ในที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในเพศหญิง ทั้งช่วยควบคุมการทำงานของรังไข่ ช่วยให้รอบเดือนมาอย่างเป็นปกติ ควบคุมมวลกระดูก ส่งผลให้อารมณ์คงที่ร่างกายสดใส มีสมาธินั้นเอง
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เกิดจากสารเคมีในรังไข่ จึงมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานภาวะการตกไข่ การมีประจำเดือน ทั้งยังกระตุ้นให้เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาตัวมากขึ้น รวมไปจนถึงการดูแลควบคุมการทำงานของร่างกายในระหว่างที่ตั้งครรภ์ เพื่อให้เกิดสมดุลในร่างกายป้องกันการแท้งบุตรได้อีกด้วย

สรุป

ฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงเป็นฮอร์โมนที่สำคัญส่วนหนึ่งของเพศหญิง ทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมดูแลร่างกายของเพศหญิงให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ช่วยให้ผิวพรรณดูอ่อนวัย สุขภาพร่างกายแข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีความสมดุลเป็นปกติท่านควรรับประทานอาหารให้ครบ 5  หมู่ การพักผ่อนที่เพียงพอ รวมถึงการออกกำลังกายมีสุขกาย สุขภาพจิตให้แข็งแรงก็เป็นตัวช่วยหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง


By content