ICSI ช่วยให้มีลูกง่ายขึ้น

ภาวะการมีลูกยาก (Infertility) เรียกได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับคู่สมรสที่ต้องการมีลูก มีความสัมพันธ์ทางเพศมากกว่า 12-24 เดือนโดยไม่มีการใช้คุมกำเนิดใด ๆ แล้วยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดสำหรับคู่สมรสหลาย ๆ คู่ ซ้ำความเครียดนั้นยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์อีกด้วย

ด้วยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยมากขึ้นจึงเกิดวิธีใหม่เรียกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In-vitro Fertilization) และยังมีวิธีการปฏิสนธิของการทำเด็กหลอดแก้วที่เรียกว่า อิ๊กซี่ (ICSI) เป็นวิธีที่คู่สมรสปัจจุบันนิยมกันมากขึ้นเนื่องจากเจ็บตัวน้อยกว่า และโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น เรียกได้ว่า ICSI เป็นความหวังสำคัญสำหรับคู่สมรสที่ต้องการมีลูกกันเลยทีเดียว

การทำอิ๊กซี่ ICSI คืออะไร

การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคนิคการทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic Sperm Injection)  นั้นเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (In-vitro Fertilization: IVF) โดยการนำเซลล์สืบพันธุ์ทั้งของทางฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมาปฏิสนธิกันภายนอกร่างกาย หรือ การผสมเทียม โดยการทำ ICSI นั้นจะเป็นการคัดเลือกตัวอสุจิที่คิดว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดเจาะฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง โดยไข่นั้นจะมาจากที่ดูดออกมาจากทางช่องคลอด(ไม่ต้องผ่าเหมือนGIFT)  ไม่ต้องรอให้อสุจิไปเจอกับไข่เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิและโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น 

การทำ ISCI อย่างมีประสิทธิภาพ

ICSI อันตรายไหม เสี่ยงอะไรบ้าง

โดยปกติทั่วไปแล้วนั้น ICSI มีกระบวนการรักษาที่มีความปลอดภัย แต่กระนั้นมีอาจความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ได้โดยความเสี่ยงที่พบเจอจากการทำ ICSI นั้นมีดังนี้

  • ภาวะรังไขตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS) เกิดจากที่ร่างกายตอบสนองต่อยาที่ฉีดเข้าไปเพื่อกระตุ้นไข่มากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกายเช่น อาการท้องอืด, เจ็บที่บริเวณช่องท้องเวลากด คลื่นไส้อาเจียน อาจเกิดอาการรุนแรงหากไม่ได้รับการดูแลรักษา สามารถเลี่ยงความเสี่ยงนี้ได้หากคลินิกหรือโรงพยาบาลที่มีกระบวนการทำ ICSI ที่มีมาตรฐาน มีการตรวจติดอาการสม่ำเสมอและปรับยาตามความเหมาะสมเพื่อลดโอกาสการเกิด OHSS ได้
  • ความผิดปกติของโครโมโซมข้อมูลจากงานวิจัยบางงานนั้น ผลพบว่าการรักษาด้วยวิธี ICSI อาจมีความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นกับการเกิดภาวะออทิสติก, ภาวะผิดความผิดปกติทางสติปัญญา และความผิดปกติโดยกำเนิด เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค IVF และ การตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ
  • ไข่เสียหาย – ด้วยกระบวนการของ ICSI นั้นที่ใช้เข็มทำการสอดเข้าไปในไข่เพื่อนำอสุจิเข้าไปนั้น ด้วยลักษณะของไข่ที่มีความเปราะและบาง อาจเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการเลือกคลินิก หรือ โรงพยาบาลที่มีนักวิทยาศตร์ที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงในการทำให้ไข่เกิดความเสียหาย
  • การเจริญพันธ์ุของเพศชายมีโอกาสเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่เด็กเพศชายที่เกิดจากกระบวนการ ICSI นั้นมีปัญหาการเจริญพันธุ์

ในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือว่า อัตราการเกิดข้อบกพร่องในเด็กที่เกิดมาจากกระบวนการ ICSI นั้นเป็นจำนวนที่แตกต่างจากประชากรทั่วไป 

ความแตกต่างระหว่างการทำ ICSI และ IVF

หลายคนอาจสับสนว่า IVF นั้นคือ กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ส่วน ICSI นั้นก็เป็นหนึ่งในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วเช่นเดียวกันแล้วระหว่าง IVF กับ ICSI เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร โดยมีข้อสังเกตดังนี้

IVF (In-vitro Fertilization)

 IVF นั้นเรียกได้ว่าเป็นวิธีกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วแบบปกติคือการที่นำไข่ที่เก็บมาจากฝ่ายหญิง จากวันที่นัดเก็บไข่ และ เก็บน้ำเชื้ออสุจิจากฝ่ายชาย นั้นมาปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ โดยให้ตัวอสุจิที่คัดมาแล้วนั้นปล่อยลงไปล้อมไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิอย่างธรรมชาติที่ตัวอสุจินั้นจะว่ายเจาะเข้าไปในไข่เอง การปฏิสนธินั้นจะเกิดในท่อนำไข่และเมื่อเพาะเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพแล้วจึงนำตัวอ่อนย้ายเข้าโพรงมดลูกต่อไป และจากนั้นแพทย์จะทำการนัดติดตามผลและ ตรวจเช็กเลือดและฮอร์โมนตามกระบวนการ

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)

การทำอิ๊กซี่ (ISCI) นั้นเป็นกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่เหมือน IVF แทบทั้งหมด ต่างกันตรงที่การเกิดกระบวนการปฏิสนธิ จาก IVF ที่ให้ตัวอสุจิว่ายเจาะเข้าไปในไข่เองนั้น การทำ ICSI นั้นจะคัดเลือกตัวอสุจิที่คิดว่ามีประสิทธภาพดีที่สุด รูปร่างดีที่สุด เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วที่สุดเพียงตัวเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงใช้เข็มสอดเข้าไปยังไข่เพื่อนำอสุจิที่คัดเลือกมาตัวเดียวนั้นฉีดเข้าไปยังเซลล์ไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธินั่นเอง 

ทำอิกซี่ (ICSI) เพื่อแก้ภาวะมีบุตรยาก

รู้หรือไม่? การทำ ICSI ช่วยวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมได้

เนื่องจากกระบวนการที่ ICSI มีขั้นตอนที่ตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนแล้ว ยังสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของตัวอ่อนระยะก่อนฝังตัว (Preimplantation Genetic Diagnosis: PGD) ได้อีกด้วย โดยการตรวจโครโมโซมคู่ที่ผิดปกตินั้น จะตรวจคู่ 13, 18, 21, X และ/หรือ Y

โดยหากโครโมโซมคู่ที่ 21 ผิดปกตินั้นพบว่า มีความสัมพันธุ์กับกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) ซึ่ง
มักพบบ่อยในการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่มาอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป

ซึ่งการทำ PGD นั้นจึงช่วยลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดความผิดปกติทางด้านพันธุกรรมของตัวอ่อนได้ หากในผู้ที่ตั้งครรภ์ตอนมีอายุมาก ( 35 ปีขึ้นไป) และมีประวัติความผิดปกติด้านพันธุกรรมในครอบครัว หรือในกรณีที่คู่สมรสเป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรม

การตรวจ PGD นั้นเป็นกระบวนการหลังจาก ICSI และนำไปเลี้ยงจนเจริญตัวอ่อนแล้ว จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ตัวอ่อน หากตัวอ่อนมีผลตรวจปกตินั้น จึงค่อยนำกลับไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป 

ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่ ICSI

ขั้นตอนการทำ ICSI นั้นจะคล้ายคลึงกับ IVF ต่างกันตรงกระบวนการนำการปฏิสนธิโดยจะแบ่งเป็นข้อได้ดังนี้

1. การกระตุ้นไข่

หลังจากการที่ฝ่ายหญิงตรวจสภาพร่างกาย และผลออกมาว่ามีร่างกายที่อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม จะเริ่มการกระตุ้นไข่ มากกว่า 1 ใบ ด้วยการฉีดฮอร์โมน โดยจะฉีดต่อเนื่องประมาณ 8 – 14 วัน จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของไข่

2. การเก็บไข่และอสุจิ

หลังจากไข่โตสมบูรณ์แล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการเก็บไข่ และ อสุจิ

โดยทางฝ่ายหญิงนั้นจะทำการเก็บไข่โดยใช้เข็มเจาะดูดออกจากรังไข่ผ่านทางช่องคลอด เมื่อได้เซลล์ไข่มา จะถูกนำออกมาทำความสะอาดสำหรับเพาะเลี้ยง เพื่อรอนำไปปฏิสนธิ

ทางฝ่ายชายนั้น จะเก็บน้ำเชื้ออสุจิวันเดียวกับทางฝ่ายหญิงหรือภายใน 36 ชั่วโมง โดยหลั่งอสุจิภายในภาชนะที่จัดไว้ จากนั้นจึงนำน้ำเชื้อไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อคัดเลือกตัวอสุจิที่เหมาะสมสำหรับการทำ ICSI

3. การทำ ICSI

เมื่อเสร็จกระบวนการเก็บไข่ และ อสุจิ จึงเริ่มกระบวนการ ICSI โดยการนำอสุจิที่ถูกคัดเลือกตามเกณฑ์มาฉีดเข้าสู่ไข่ด้วยเข็มขนาดเล็กมากให้เกิดการปฏิสนธิข้างในเซลล์ไข่  โดยในไข่ 1 ฟองนั้นจะฉีดอสุจิเข้าไปเพียงตัวเดียวเท่านั้นจากนั้น นักวิทยาศาสตร์จะคอยติดตามผลว่าการปฏิสนธินั้นสำเร็จกลายเป็นตัวอ่อนหรือไม่ 

4. การเลี้ยงตัวอ่อน

เมื่อหลังจากปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนแล้วนั้น ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงภายใต้การดูแลในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยให้ใกล้เคียงกับสภาวะในร่างกายมากที่สุดในห้องปฏิบัติการเป็นระยะเวลา 5-6 วัน จนถึงระยะบาสโตซิสท์ (Blastosyct) ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนมีความแข็งแรงพร้อมย้ายกลับไปสู่โพรงมดลูก

5. ย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก

หลังจากตัวอ่อนพร้อมย้ายกลับสู่โพรงมดลูกแล้วนั้น แพทย์จะทำการย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกโดยการสอดสายย้ายตัวอ่อนหรือหลอดสำหรับย้ายตัวอ่อนเข้าไปผ่านช่องคลอดไปจนถึงโพรงมดลูก ควบคู่กับการใช้อัลตราซาวด์เพื่อดูตำแหน่ง จากนั้นจึงนำตัวอ่อนไปฝังตัวตรงตำแหน่งที่เหมาะสมในโพรงมดลูก 

6. ตรวจการตั้งครรภ์

เมื่อทำการย้ายเสร็จสิ้นแล้ว และตัวอ่อนเริ่มฝั่งตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตแล้วนั้น หลังจากนั้น 7-10 วัน  แพทย์จะนัดเจาะเลือดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ตรวจครรภ์เองเพราะอาจเกิดความผิดพลาดได้

ข้อดี – ข้อจำกัดของการทำ ICSI

การทำ ICSI นั้นมีข้อดีหลายข้อ ซึ่งช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากได้เป็นอย่างดี แต่กระนั้นยังมีข้อจำกัดโดยธรรมชาติ สภาพร่างกาย โดยจะแบ่งเป็นข้อได้ตามนี้

ข้อดี 

  1. ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น ซึ่ง ICSI เป็นวิธีที่มีโอกาสสำเร็จมากที่สุด  โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะมีบุตรยาก
  2. ไม่ต้องผ่าหน้าท้อง เนื่องจากไม่มีการผ่าตัด
  3. ผู้หญิงและผู้ชายที่ทำหมันแล้วนั้น สามารถทำ ICSI ได้
  4. สามารถเก็บไข่และนำเชื้อได้นานถึง 10 ปี ด้วยเทคโนโลยีและการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  5. คัดกรองโรคกลุ่มเสี่ยงได้เนื่องจาก กระบวนการ ICSI มีการคัดกรองตัวอสุจิและไข่ที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรมได้

ข้อจำกัด

  1. ราคาการทำ ICSI นั้นโดยทั่วไปสูงกว่า IVF  เนื่องจากการทำ ICSI นั้นต้องใช้บุคลการที่ชำนาญสูงเพื่อลดอัตราการผิดพลาด และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
  2. มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะรังไข่กระตุ้นมากเกินไป การติดเชื้อจากการเก็บไข่ การคลอดก่อนกำหนด
  3. มีโอกาศตั้งครรภ์แฝด ที่มีความเสี่ยงในการแท้ง
  4. มีโอกาสแท้งสูงกว่าการตั้งครรภ์ปกติเล็กน้อย
  5. ใช้เวลาหลายวัน

แนวทางการดูแลตัวเองหลังทำ ICSI

หลังจากเสร็จสิ้นการทำเด็กหลอดแก้วแล้วนั้นการปฏิบัติตัวหรือการทำกิจกรรมต้องระวังไม่ให้กระทบต่อการส่งผลต่อปัจจัยการตั้งครรภ์ โดยมีข้อควรทำดังนี้

  1. หลังจากใส่ตัวอ่อนแล้วนั้นทางสถานที่ทำจะให้นอนพัก อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  2. งดการออกกำลังกายหนัก
  3. งดการยกของหนัก
  4. งดการรับประทานอาหารที่อาจให้เกิดท้องเสีย
  5. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ และ งดการล้างช่องคลอด
  6. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ส่งผลต่อความเครียด เพราะอาจกระทบต่อฮอร์โมน
  7. หากมีไข้สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
  8. หากมีอาการ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก มีตกขาว ควรรีบมาพบแพทย์โดนทันที

ICSI ราคาเท่าไหร่

การทำ ICSI นั้นราคาค่อนข้างสูงกว่าการทำเด็กหลอดแก้วทั่วไป โดยมีราคาตั้งแต่หลัก 200,000 บาทไปจนถึง 500,000 บาทแล้วแต่สถานที่และโปรโมชั่น

ทำ ICSI ที่ไหนดี

การเลือกสถานที่ที่ในการทำเด็กหลอดแก้ว และ ICSI นั้นต้องเลือกให้เหมาะสม ทั้งเรื่องราคา และปัจจัยอื่นๆ ดังนี้

  1. เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้มาตรฐาน
  2. บุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
  3. ความสะอาด เพื่อความปลอดภัยในแต่ละขั้นตอน
  4. การบริการ สามารถส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์ของคนไข้ได้

ทางผู้เขียนบทความนั้นแนะนำศูนย์รักษาผู้มีบุตร Beyond IVF เนื่องจากทาง Beyond IVF นั้นมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้อย่างมาก ด้วยวุฒิบัตรการันตีถึงความรู้ และความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อีกด้วย อีกทั้งทางคลิกนักนั้น ได้มาตรฐานสูง สะอาด ปลอดภัย มีการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบ พร้อมผู้ให้คำแนะนำสำหรับผู้มีบุตรยาก

ทำ ICSI ที่ไหนดี

FAQs คำถามเกี่ยวกับ ICSI

ผู้อ่านอาจเกิดคำถามว่า ICSI นั้น มีความเสี่ยงมั้ย โอกาสสำเร็จเท่าไหร่ โดยอธิบายตามนี้

การทำ ICSI มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

ICSI นั้นมีความเสี่ยงในเรื่องของการ ท้องอืดเนื่องจากรังไข่ตอบสนองมากเกินไป ไข่อาจเสียหายจากการสอดเข็มเพื่อส่งอสุจิเข้าไป และอาจเกิดการตั้งครรภ์แฝดจากการย้ายตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัวกลับสู่โพรงมดลูก

การทำ ICSI มีโอกาสสำเร็จเท่าไหร่

อัตราปฏิสนธิของตัวอ่อนจากการ ICSI นั้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 70%  ส่วนอัตราการตั้งครรภ์นั้นอยู่ที่ 40 – 70% ทั้งนี้อัตราการสำเร็จขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก, อายุ, และปัจจัยอื่น ๆ 

ทำ ICSI เลือกเพศได้ไหม ทำลูกแฝดได้หรือไม่

ICSI นั้นไม่สามารถเลือกเพศได้ แต่สามารถรู้ถึงเพศได้จาการตรวจโครโมโซม ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม

สำหรับลูกแฝดนั้น ICSI สามารถทำลูกแฝดได้ โดยการนำตัวอ่อน 2 ตัวฝังเข้าผนังมดลูกพร้อมกันได้ ทำให้เกิดครรภ์แฝดเทียม แม้ว่าไม่ใช่ครรภ์แฝดแท้ แต่ตัวอ่อนที่ผ่านกระบวนการทำ IVF หรือ ICSI นั้นแข็งแรงมากกว่าครรภ์แฝดแท้ เพราะเนื่องจากไม่แย่งสารอาหาร และสายรกไม่พันคอกัน

ข้อสรุป

หากใครที่สนใจในการทำ IVF อยู่แล้วนั้นการทำ ICSI นั้นถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากเป็นวิธีที่มีโอกาสสำเร็จที่สูง และยังช่วยในเรื่องลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมอีกด้วย หากท่านไหนที่มีปัญหา หรือ สงสัยว่าตนเองนั้นเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยากหรือไม่ ลองไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา เพื่อวางแผนในการมีลูกต่อไปได้ 

By content