ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางด้านธุรกิจสูง ทำให้เราต้องคอยหากลยุทธ์ต่าง ๆ มากระตุ้นลูกค้าอยู่ตลอดเวลา แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าหากเราสามารถสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาใช้บริการหรือสินค้าของเรา และกลับมาซื้ออีกครั้ง จนกลายเป็นลูกค้าประจำ เราขอแนะนำให้รู้จัก Customer Experience รวมถึงกลยุทธ์ที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า เพื่อให้คุณสามารถสร้างธุรกิจได้อย่างยั่งยืน โดยที่มีฐานลูกค้าอย่างมั่นคงด้วยตัวของคุณเอง
รู้จักกับ Customer Experience
Customer Experience หรือ CX คือ การรับรู้แบบองค์รวมของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจของเรา หรือความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ เมื่อเวลาผ่านไป เป็นความรู้สึกทั้งในแง่บวกและแง่ลบในทุกแง่มุมที่ได้มีต่อธุรกิจของเรา ตั้งแต่การสำรวจเว็บไซต์ไปจนถึงการพูดคุยกับฝ่ายบริการลูกค้า และการรับสินค้าหรือบริการจากเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะส่งผลการรับรู้ของลูกค้าและการตัดสินใจของพวกเขาว่าจะกลับมาอีกหรือไม่ อาจจะเรียกสั้น ๆ ได้ว่า เป็นประสบการณ์ของลูกค้า
โดย Customer Experience ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นอาหารหรือขนมที่มีการบรรจุที่ดี และโฆษณาว่า รักษาสุขภาพเป็นอย่างดี แต่เมื่อลูกค้าซื้อไปแล้ว พบว่า การเปิดซองนั้น ทำได้ยากมาก ๆ กว่าจะเปิดซองได้ก็ต้องใช้เวลานาน ก็ทำให้ไม่อยากรับประทานแล้ว แสดงให้เห็นว่า แม้ผลิตภัณฑ์จะมีบริการดีแค่ไหน แต่ถ้าตัวผลิตภัณฑ์มีปัญหา ก็อาจจะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์แย่ ๆ ก็เป็นได้
ทำไมธุรกิจควรให้ความสำคัญกับ Customer Experience (CX)
อย่างที่ทราบกันดี Customer Experience คือ ความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ ทั้งในด้านของสินค้าและการให้บริการ ดังนั้น หากทั้ง 2 ส่วนนี้ สามารถสร้างเสริมประสบการณ์ของลูกค้าในเชิงบวกได้ ก็จะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ส่งเสริมความภักดี ช่วยให้คุณรักษาลูกค้า และส่งเสริมการสนับสนุนแบรนด์ ด้วยการบอกต่อ เพิ่มจำนวนลูกค้าให้แก่ธุรกิจของเรา และในขณะเดียวกันก็ลดข้อขัดแย้งจากข้อร้องเรียนของลูกค้าและการคืนสินค้าได้อีกด้วย
เรียกได้ว่า Customer Experience นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท ถ้าลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีจากแบรนด์ ก็จะทำให้บริษัทมีฐานลูกค้าที่มั่นคง ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นอีกมาก และด้วยเทคโนโลยีในสมัยนี้ Customer Experience มีอิทธิพลอย่างมาก เพราะในการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกที่มากขึ้น และสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าและบริการของเราได้อย่างอิสระและง่ายเพียงปลายนิ้ว
ดังนั้น หากคุณสามารถสร้าง Customer Experience ที่ดีให้แก่ลูกค้าของคุณได้ ธุรกิจของคุณก็จะเจริญเติบโตได้แบบก้าวกระโดด เพราะจะมีการแชร์และรีวิวอย่างออนไลน์ และผู้บริโภคกลุ่มอื่น ๆ ก็สามารถมองเห็นและมีโอกาสที่จะมาเป็นลูกค้าของคุณได้อีกด้วย
การสร้าง Customer Experience ต้องมีอะไรบ้าง?
ทีนี้ เมื่อเรารู้และเข้าใจแล้วว่า Customer Experience คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรในธุรกิจของเรา แล้วเราจะสร้าง Customer Experience ได้อย่างไร จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
- Understanding Customer Needs and Expectations คือ มีความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างถ่องแท้และถูกต้อง
- Personalization มีความเป็นส่วนตัว
- Convenience and Accessibility ช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการใช้บริการ และสามารถเข้าถึงได้ง่าย
- Consistency มีความสม่ำเสมอของสินค้าและการให้บริการ
- Emotional Connection มีเทคนิคในการเข้าหาลูกค้า สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าได้
Customer Experience Management คืออะไร
การจัดการประสบการณ์ลูกค้า หรือ Customer Experience Management คือ กระบวนการบริหารจัดการ สำรวจ วิเคราะห์ และปรับปรุงปฏิสัมพันธ์ของลูกค้ากับธุรกิจของคุณ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเชิงบวกต่อแบรนด์ของเรา เน้นทั้งการสร้างประสบการณ์ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว
โดย Customer Experience Management หรือ CXM นี้ ถือว่า เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของกลยุทธ์ที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นอันดับแรก เป็นการตรวจสอบและปรับปรุงจุดสัมผัสต่าง ๆ ตลอดการเดินทางของลูกค้า (Customer Journey)
ซึ่ง Customer Experience Management นี้ เราจะได้จากการใช้เครื่องมือทางการตลาด รวบรวมข้อมูลของลูกค้ามาประมวลผล จากนั้น จึงวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้มา จะทำให้เราสามารถเข้าใจในตัวลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้การวางแผนการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแคมเปญ การสร้างสื่อโฆษณา หรือการจัดทำสินค้าใหม่ มีทิศทางและเข้าถึงลูกค้ามากยิ่งขึ้น
5 กลยุทธ์ใน Customer Experience
คำถามต่อมา คือ แล้วเราจะสร้าง Customer Experience อย่างไร โดยเราได้รวบรวม 5 กลยุทธ์ใน Customer Experience มาไว้ให้คุณได้ศึกษาและเลือกนำไปใช้ในธุรกิจของคุณ ดังนี้
1. สื่อสารสร้าง Customer Experience
สิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้ของการทำธุรกิจ คือ การสื่อสาร ดังนั้น กลยุทธ์แรกของ Customer Experience คือ เราต้องกําหนดว่าลูกค้าจะสามารถเข้าถึงได้อย่างไร สามารถปรับการเข้าถึงให้เหมาะสมกับลูกค้าได้ โดยใช้ทุกสื่อโซเชียลที่มีให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และช่วยเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ
2. เข้าถึงสะดวก
อีกหนึ่ง Customer Experience ที่ลูกค้าต้องการ คือ เข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ ตั้งแต่การเข้าเว็บไซต์ การลงทะเบียน จนถึงการสั่งซื้อเสร็จเรียบร้อย
3. ข้อมูลครบถ้วน
เมื่อลูกค้าสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายแล้ว Customer Experience ถัดมาคือ สินค้าหรือบริการจะต้องมีรายละเอียดชัดเจนและครบถ้วน เพื่อที่ลูกค้าจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาสอบถามเพิ่มเติม ทำให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบ
4. รวบรวม Customer Experience
ทางบริษัทต้องรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้าง Customer Experience ที่ดี พร้อมทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ว่า บริษัทของคุณมีความใส่ใจในความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริการที่ดีขึ้น
5. Customer Experience กับบริการหลังการขาย
หลังจากที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือรับบริการของเราไปแล้ว หลายธุรกิจมักจะหลงลืมการให้บริการหลังขาย ทั้งที่แท้จริงแล้ว Customer Experience หลักที่จะดีหรือไม่ดีนั้น ก็ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับบริการหลังการขายทั้งสิ้น ถ้าหากบริษัทมีการดูแลหลังการขายที่ดี ก็จะส่งเสริมให้ Customer Experience ของลูกค้าดีขึ้นไปด้วย
เครื่องมือ Customer Experience
โดยในปัจจุบัน มีเครื่องมือที่ใช้ในการทำ Customer Experience มากมายที่ผลิตออกมาช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ Customer Experience ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1. Google Analytics
ขอบคุณภาพจาก https://www.hotjar.com/customer-experience/software/
Google Analytics เป็นซอฟต์แวร์ติดตามและวิเคราะห์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีการแสดงผลแบบกราฟิกว่า ลูกค้ามีการเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซต์ของคุณอย่างไร และแสดงผลว่า ลูกค้าเข้าชมสิ่งใดบ่อยที่สุด อีกทั้งยังไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย
2. Outfunnel
ขอบคุณภาพจาก https://outfunnel.com/web-visitor-tracking/
Outfunnel เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Customer Experience และพฤติกรรมของลูกค้าบนเว็บไซต์ของคุณ แบบ Real-Time มีการบันทึกการเข้าชมเว็บไซต์อย่างอัตโนมัติ เพื่อบริการเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดี
3. HubSpot Service Software
ขอบคุณภาพจาก https://www.hubspot.com/products/service?hubs_content=blog.hubspot.com/service/what-is-customer-experience&hubs_content-cta=HubSpot%20Service%20Software&hubs_post=blog.hubspot.com/service/what-is-customer-experience&hubs_post-cta=HubSpot%20Service%20Software&_ga=2.222896411.1667513095.1679466375-989730311.1679466375&_gl=1*jh5mfy*_ga*OTg5NzMwMzExLjE2Nzk0NjYzNzU.*_ga_LXTM6CQ0XK*MTY3OTQ2NjM3NS4xLjEuMTY3OTQ2NjQ1Ny4wLjAuMA..
HubSpot เป็นแพลตฟอร์มการบริการลูกค้าที่มีรูปแบบหลากหลาย เหมาะสำหรับการใช้จัดการ Customer Experience ตัวอย่างเช่น การนำเสนอทีมช่วยเหลือ การบันทึกข้อสงสัยของลูกค้า การติดตามปัญหาที่เกิดขึ้น และอื่น ๆ
4. Hotjar
ขอบคุณภาพจาก https://www.hotjar.com/customer-experience/software/
Hotjar เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Customer Experience ที่ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ ทั้งพฤติกรรมของลูกค้าและแรงจูงใจในการใช้บริการ ทำให้เราได้ข้อมูลเชิงลึกที่เหมาะสำหรับการนำไปวิเคราะห์ต่อ
การวัดผลของ Customer Experience
หลายคนอาจจะมองว่า Customer Experience นั้นเป็นนามธรรมไม่สามารถวัดได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีรูปแบบการวัดผลขึ้นมา โดยเราขอนำเสนอรูปแบบการวัดของ Customer Experience ไว้ 4 วิธี ดังนี้
1. Customer Effort Score (CES)
เป็นการประเมิน Customer Experience ที่ลูกค้ามีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการ ในแง่ของความ ‘ยาก’ หรือ ‘ง่าย’ ของกระบวนการต่าง ๆ โดยนิยมจะกำหนดมาตราส่วนการให้คะแนนเป็น ‘1: ยากมาก’ และ ‘7: ง่ายมาก’
2. Net Promoter Score® (NPS)
เป็นการประเมิน Customer Experience ของลูกค้าด้วยคำถามปลายปิดง่าย ๆ โดยการให้คะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 10 เช่น คุณมีแนวโน้มที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์/บริษัทนี้ให้เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานมากน้อยเพียงใด ด้วยคำถามเหล่านี้ จะทำให้เราได้ข้อมูลเชิงลึกมากยิ่งขึ้น
3. Customer Satisfaction Score (CSAT)
เป็นการประเมิน Customer Experience ของลูกค้า ที่เน้นทางด้านความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับจากเรา โดยนิยมจะกำหนดมาตราส่วนการให้คะแนนเป็น ‘1: ไม่พอใจมาก’ และ ‘7: พอใจมาก’ หรือ เป็นการตอบว่า ใช่/ไม่ใช่
4. Time To Resolution (TTR)
Time To Resolution (TTR) คือ ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ทางทีมบริการลูกค้า สำหรับการแก้ไขปัญหา โดยสามารถวัดเป็นวันหรือชั่วโมงทำการ และคำนวณโดยการเพิ่มเวลาทั้งหมด เพื่อการแก้ปัญหาและหารผลลัพธ์ด้วยจำนวนกรณีและปัญหาที่แก้ไขได้ ซึ่งยิ่ง TTR ของคุณสั้นเท่าใด Customer Experience ก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
ตัวอย่างของ Customer Experience
บางคนอาจจะยังไม่ภาพของ Customer Experience ดังนั้น เราจึงขอยก Customer Experience ตัวอย่างตัวอย่างบริษัทดัง ๆ ที่มีการบริการส่งเสริม CX เป็นอย่างดี เช่น
- APPLE : มีการเก็บข้อมูลสอบถาม ตั้งแต่ขั้นตอนการซื้อว่าเป็นอย่างไร รวดเร็วทันใจหรือไม่ แล้วการติดต่อฝ่ายสนับสนุน และการดูแลหลังการขายสะดวกกับลูกค้าแค่ไหน รวมถึงสื่อโฆษณาและงแคมเปญการตลาดของ Apple เองที่น่าสนใจไม่น้อย
- Netflix : มีการใช้ Personalization Marketing ในการมอบ Customer Experience ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า ด้วยการเก็บข้อมูลประเภทหนังที่ User น่าจะชื่นชอบ แล้วรวบรวมมาแสดงไว้ในหน้าหลักของเรา พร้อมทั้งแนะนำจากหน้าปกหนังที่ User แต่ละคนเห็นต่างกัน แม้จะเป็นหนังเรื่องเดียวกันก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทหนังที่ User นิยมดู
- Amazon : สร้าง Customer Experience ด้วยการบริการที่ยอดเยี่ยม ด้วยการทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่สั่งอย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งฟรี สำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้ามากกว่า 25 ดอลลาร์ขึ้นไป หรือบริการ Amazon Lockers หรือ Self-Service Koisks ให้ลูกค้าเลือกสถานที่ที่สะดวกไปรับสินค้าเอง พร้อมทั้งยังมี Customer Service บริการด้วยการสร้างแอคเคาท์ทวิตเตอร์ @AmazonHelp เพื่อคอยรับและแก้ไขปัญหา หรือตอบข้อสงสัยของลูกค้า ตลอดเวลา 7 วัน โดยมีทั้งหมด 7 ภาษาเลยทีเดียว
ข้อสรุป
Customer Experience คือ ความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อบริษัทของเรา ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เริ่มซื้อไปจนถึงการใช้บริการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่า Customer Experience นั้น เกิดจากผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาเป็นลูกค้าของเราอีก ประกอบกับการใช้กลยุทธ์ เครื่องมือ และการวัดผลที่เหมาะสม ก็จะทำให้เราสามารถสร้าง Customer Experience ที่ดีให้แก่ลูกค้าได้