โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า

ในปัจจุบันปัญหาสภาพเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม โรคระบาด ก่อให้เกิดความกดดันให้กับผู้คนในขณะนี้ ที่ต้องทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว บางท่านส่งตัวเองเรียน รวมถึงการแบกความหวังของครอบครัวให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดไว้ แน่นอนว่าความกดดันเหล่านั้นก่อเกิดความเครียดได้เช่นกัน รวมถึงบางท่านอาจพบเจอกับความผิดหวัง ทั้งไม่ได้ในสิ่งที่ตนเองใฝ่ฝันไว้บ่อยครั้งเข้า 

การพบเจออารมณ์ความเครียด – ความเศร้า – ความกดดันที่สะสมอาการเหล่านี้เรื้อรังมานาน และดำเนินต่อไปจนเริ่มส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันที่หาทางออกจากอารมณ์เหล่านี้ไม่ได้ ซึ่งนี่เองที่เป็นสัญญาณว่าคุณอาจจะกำลังเป็นโรคซึมเศร้าได้นั่นเอง ในบทความต่อไปนี้จะอธิบายถึงอาการของโรคซึมเศร้า พร้อมด้วยสาเหตุของโรคซึมเศร้า การรักษาโรคซึมเศร้า จะมีอะไรบ้างเรามาดูไปพร้อมๆกัน


โรคซึมเศร้าคืออะไร และโรคซึมเศร้าแบ่งเป็นกี่ประเภท

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า คืออะไร เพื่อสามารถมองเห็นถึงภาพรวมของอาการ รวมทั้งการแบ่งประเภทของโรคซึมเศร้า ซึ่งจะช่วยให้ท่านที่มีอาการเข้าข่ายของโรคได้สังเกตตนเอง และสามารถมองหาแนวทางในการรักษาต่อไปได้อีกด้วย 

โรคซึมเศร้า คือ ความผิดปกติทางอารมณ์ ซึ่งเกิดจากสารเคมี เซโรโทนิน ( Serotonin ) ในสมองลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการทางด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด พฤติกรรม ด้วยอารมณ์ที่เศร้าหมองอย่างต่อเนื่อง มีความรู้สึกเฉยชา ความสนใจต่อสิ่งต่างๆรอบข้างเริ่มลดลง บางท่านรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสุข วิตกกังวล ทำให้ความสามารถในการทำงานแต่ละวันไม่คงที่ ทั้งยังก่อให้การดำเนินชีวิตในประจำวันเป็นไปอย่างยากลำบากจนรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า หากปล่อยอาการนี้ไว้นานผู้ป่วยอาจคิดสั้นได้อีกด้วย 

การเป็นโรคซึมเศร้าจึงไม่ได้หมายถึงการที่ผู้ป่วยเป็นผู้อ่อนแอ คิดมาก ท้อแท้ แต่เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นเอง ซึ่งการเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้อง จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงจะช่วยให้ท่านได้กลับใช้ชีวิตได้อย่างปกติมีความสุขดังเดิม 

ประเภทของโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งออกตามแต่ละพฤติกรรมที่แสดงออก หรือภาวะทางอารมณ์ ดังต่อไปนี้ 

  1. โรคซึมเศร้า ( MDD : Major Depressive Disorder ) โดยเกิดจากสารเคมีสื่อประสาทในสมองเกิดความผิดปกติ เป็นอาการที่ผู้ป่วยจะรู้สึกเศร้าต่อเนื่อง ทุกข์ จนไม่อยากมีชีวิตอยู่ 
  2. โรคซึมเศร้าเรื้อรัง ( Dysthymia ) ด้วยอาการเศร้าที่สะสมมานาน ซึ่งมากกว่า 8 เดือนขึ้นไป บางรายอาจมีอาการเศร้าไม่คงที่นานนับปี 
  3. โรคซึมเศร้ารูปแบบไบโพลาร์ (Dipolar disorder) สามารถสังเกตอาการได้จากความแปรปรวนไม่คงที่ เดี๋ยวร่างเริงสลับกับเศร้าหมองนั้นเอง
  4. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postnatal Depression) เกิดจากร่างกายได้เปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาหลังคลอดทารกของคุณแม่
  5. โรคซึมเศร้ารูปแบบจิตหลอน (Psychotic Depression) เป็นอาการที่ค่อนข้างอันตราย เนื่องจากมีการหลงผิด ได้ยินเสียงแว่ว กลัวมีคนทำร้าย จนเกิดอาการหลอนนั้นเอง 
  6. โรคซึมเศร้าตามแต่ฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder : SAD) เกิดจากความแปรปรวนของฤดูกาล เช่นการเหนื่อยล้า หดหู่ท้อแท้ แยกตัวออกจากสังคม ตามฤดูหนาว เป็นต้น
  7. โรคซึมเศร้าในกลุ่มที่มีอาการเศร้าก่อนเริ่มมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder : PMDD) ด้วยร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก่อนมีประจำเดือน จึงส่งผลให้เกิดความเศร้า ซึมท้อแท้ ไม่มีความสุข
  8. โรคซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการปรับตัว (Reactive Depression/ Adjustment Disorder) ด้วยอาการผู้ป่วยที่ได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจอย่างหนักหน่วง เช่นการสูญเสียจากผู้เป็นที่รัก การถูกพลัดพรากจากคนในครอบครัว , โรคซึมเศร้าในเด็กที่เกิดการปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ๆ รวมทั้งโรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมถอยของสภาพร่างกายที่จะแสดงออกมาทางกายภาพ เป็นต้น

สาเหตุของโรคซึมเศร้า มีอะไรบ้าง

สาเหตุของโรคซึมเศร้า จะสามารถแบ่งออกตามรูปแบบปัจจัยต้นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า ได้ดังต่อไปนี้ 

  • เกิดจากพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดลักษณะที่เหมือนกันจากบรรพบุรุษรุ่นหนึ่งไปสู่ลูกหลานอีกรุ่นหนึ่ง (จะเรียกว่าลักษณะทางกรรมพันธุ์ ) ด้วยพันธุกรรมนี้ จะถ่ายทอดทั้งลักษณะทางกายภาพ แม้แต่ตัวโรค หรือความผิดปกติของร่างกายได้อีกด้วย 
  • เกิดจากสาเหตุสารเคมีในสมองของผู้ป่วยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติในปริมาณลดลง ในปัจจุบันเกิดจากความบกพร่องกายในการเข้าควบคุมระบบประสาท 
  • การพัฒนาสภาพจิตใจที่ไม่คงที่ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นคนคิดมาก ให้ความรู้สึกไร้ค่า ทั้งในแง่ลบ และแง่ร้าย บางท่านอาจพบเจอกับเหตุการณ์ที่มีความกดดัน เช่น ถูกทอดทิ้ง หย่าร้าง ตกงาน อกหัก ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลให้มีแนวโน้มที่เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย จนอาจจะก่อให้เป็นโรคซึมเศร้าต่อไปหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
  • บางท่านสาเหตุของอาการโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดความสิ่งเร้าที่ไปกระตุ้นการทำงานของร่างกายจนเกิดผลกระทบได้เช่นเดียวกัน

การรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันเป็นอย่างไร 

รักษาโรคซึมเศร้า

แนวทางในการรักษาในปัจจุบันที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้สามารถหายได้เป็นปกติ จนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ จะมีแนวทางด้วยกันดังนี้

รักษาด้วยจิตบำบัด

วิธีการรักษาด้วยจิตบำบัด จะเป็นการรักษาหลักในปัจจุบัน ด้วยการนำผู้ป่วยมาพูดคุยให้คำปรึกษา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการความเครียดสะสมของตน ร่วมด้วยการรักษาด้วยยากลุ่มที่ช่วยแก้อาการซึมเศร้า ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เมื่อได้รับการรักษาที่ทันท่วงที ไม่ปล่อยอาการเศร้าซึม ท้อแท้นานเกินไป

รักษาด้วยยา

วิธีการรักษาด้วยยา จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการของโรคซึมเศร้าที่รุนแรงมากกว่าการรักษาด้วยจิตบำบัด ด้วยแพทย์ที่ดูแลทำการรักษา จะสั่งจ่ายยาที่สามารถปรับสารสื่อประสาทในสมองของผู้ป่วย ซึ่งสามารถช่วยควบคุมอารมณ์ เมื่ออาการโรคซึมเศร้าได้ลดความรุนแรงลง ทางแพทย์จะเห็นควรในการลดขนาดยาที่ผู้ป่วยทานได้

รักษาด้วยไฟฟ้า

วิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยระบบไฟฟ้า เนื่องด้วยผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าเรื้อรังมานานทั้งยังไม่หายจากการรักษาด้วยจิตบำบัดรวมทั้งวิธีรักษาด้วยยารักษาโรค โดยวิธีนี้ทางแพทย์จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านศีรษะส่งผลให้เซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรคซึมเศร้า หรือป่วยจิตเวช


ยารักษาโรคซึมเศร้า มีผลข้างเคียงมากน้อยเพียงใด

การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการทานยารักษาในขณะนี้ จะถือว่าสามารถรักษาได้อย่างปลอดภัย ซึ่งยารักษาซึมเศร้าจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง ไม่มีผลทำให้เกิดอาการมึนงงแต่อย่างใด ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดการติดยาจากยารักษาโรคซึมเศร้าตามที่หลายๆท่านได้เกิดความกังวลอีกด้วย


หากมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า ควรปฏิบัติอย่างไร 

ในฐานะผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคซึมเศร้า การปฏิบัติตัวของผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย สามารถทำตามข้อแนะนำอย่างเหมาะสมในการปฏิบัติตัวได้ มีดังต่อไปนี้ 

  • ผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ท่านสามารถพูดคุย พร้อมทั้งเป็นผู้รับฟังที่ดีต่อผู้ป่วยซึมเศร้าแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้ป่วยได้ ทั้งยังแสดงความห่วงใยในการให้กำลังใจ สนับสนุนผู้ป่วยซึมเศร้า และยังสามารถช่วยให้ผู้มีเป้าหมายให้รักษาโรคซึมเศร้าให้หายเป็นปกติได้อีกด้วย
  • ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เพื่อทำความถึงสาเหตุ การรักษา วิธีการพูดคุยให้ถูกต้องเหมาะสม
  • การสังเกตอาการ – สัญญาณเตือนภัยก่อนผู้ป่วยไม่อยากมีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้

สรุปเรื่องโรคซึมเศร้า

อาการรวมทั้งสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า สามารถเป็นซึมเศร้าได้ในทุกวัย ไม่มีการจำกัดเพศ ทั้งยังไม่ใช่บุคคลที่อ่อนแอ ท้อแท้ต่อสิ่งต่างๆได้ง่าย ซึ่งสิ่งที่ช่วยให้ท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนทางด้านอารมณ์ของตนเองได้นั้น นั้นคือการสังเกตอารมณ์ของตนอยู่เสมอ การจัดการความเครียด เพื่อจะสามารถป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าต่อตนเองได้ และโรคซึมเศร้านี้เองที่สามารถรักษาให้หาย จนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เมื่อท่านรักษาซึมเศร้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง


By content