Design Thinking คือ กุญแจสู่ความสำเร็จ

ในยุคนี้ที่ธุรกิจแทบจะทุกประเภทมีการแข่งขันที่สูงมาก แต่ละองค์กรต่างหาวิธีการที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นในแง่ต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยได้มีชื่อว่า Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบที่จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากแก้ปัญหาได้ดี สร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้ จะเป็นแต้มต่อให้เราอยู่เหนือคู่แข่ง



ทำความรู้จักกับ Design Thinking

Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นไปที่การหาวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ขั้นตอนการคิด ออกแบบสินค้าใหม่ ออกแบบกลยุทธ์ ทั้งด้านการตลาด การบริหาร และอื่น ๆ ซึ่ง Design Thinking คือ สิ่งที่จะตัวช่วยให้ดำเนินการสิ่งเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น 

เพราะการ Design Thinking เป็นกระบวนการคิดที่มีขั้นตอนเป็นระบบ มีการวางขอบเขตให้แน่ชัด จำลองสถานการณ์ก่อนลงมือจริง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ดังนั้นหากใช้กระบวนการ Design Thinking มาประยุกต์ในการทำงาน จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าจะได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้


Design Thinking มีประโยชน์อย่างไร ?

เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจในการนำกระบวนการ Design Thinking ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง มั่นใจได้ว่ามันมีประโยชน์ ในหัวข้อนี้เราจะ Design Thinking มีประโยชน์อย่างไร และทำไม Design Thinking คือ กระบวนการคิดที่ทุกคนจำเป็นต้องให้ความสนใจ

  1. ช่วยสามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างง่ายดาย เพราะ Design Thinking เป็นกระบวนการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยการวิเคราะห์ จำลองสถานการณ์ปัญหา และวิธีแก้ไขก่อนลงมือ ดังนั้นต่อให้เป็นปัญหาที่ซับซ้อนก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างง่ายดาย
  2. สร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับองค์กร สิ่งที่เชื่อมระหว่างองค์กรและลูกค้า ก็คือ สินค้าและบริการ จะทำให้ลูกค้าสนใจ จำเป็นต้องคิดค้นสินค้า หรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า สร้างความคุ้มค่าให้ลูกค้าที่สุด ซึ่ง Design Thinking คือ กระบวนการคิดที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ หากมีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายได้ดีพอ จะสามารถสร้างนวัตกรรมที่ลูกค้าชื่นชอบได้อย่างแน่นอน
  3. ลดความเสี่ยงจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากนวัตกรรมใหม่ นอกจากออกแบบสินค้า บริการที่สร้างความพอใจให้ลูกค้าแล้ว Design Thinking จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์หาช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นได้ และหาวิธีแก้ข้อบกพร่อง ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหา
  4. ประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการที่ผิดพลาด กระบวนการ Design Thinking ช่วยให้เราสามารถเข้าใจภาพรวมของสิ่งที่นำมาวิเคราะห์ ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะทุกข้อผิดพลาดที่หลุดออกไป จะสร้างค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น นำสินค้าที่มีข้อบกพร่องกลับมาแก้ไข หรือแผนบางอย่างที่ผิดพลาดแต่ดำเนินการไปแล้ว ก็จะสร้างความเสียหายได้เช่นกัน
  5. พัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรในองค์กร เพราะ Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ต้องการความคิดสร้างสรรค์ หากนำแผนนี้มาประยุกต์ใช้ในองค์กร จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน การร่วมกันระดมสมองเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ช่วยพัฒนาระดับการทำงานในระดับบุคคล และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับทีม
Design Thinking

Design thinking มีกระบวนการคิดอย่างไร

เมื่อได้ทราบถึงประโยชน์ของ Design Thinking คืออะไร เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการของ Design Thinking ได้อย่างถ่องแท้ ในหัวข้อนี้ เรามาดูกันว่า Design Thinking มีกี่ขั้นตอนบ้างที่ต้องปฏิบัติ

1. รับรู้และเข้าใจถึงปัญหา หรือเป้าหมาย

ขั้นตอนแรกของ Design Thinking คือ การรับทราบและเข้าใจถึงปัญหาเสียก่อน เข้าใจว่าปัญหาที่ต้องแก้ไข คืออะไร เข้าใจว่าเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง คืออะไร เพราะเป้าหมายที่ชัดเจนจะสามารถทำให้ดำเนินการตามแผนไปในทิศทางที่ถูกต้องตามที่ตั้งไว้

2. กำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ถึงเป้าหมาย

เมื่อทราบแล้วว่าปัญหาที่ต้องแก้ไข หรือเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง คืออะไร สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ คือ การกำหนดขอบเขตว่าหากจะแก้ปัญหานี้ หรือไปให้ถึงเป้าหมาย มีจำนวนงานกี่อย่าง ที่ต้องดำเนินการ การทราบปริมาณ และรู้รายละเอียดว่างานแต่ละชิ้นที่ต้องทำมีรายละเอียดอะไรบ้าง จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้องานและสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน รวมไปถึงการประมาณการเวลาที่จะดำเนินการแล้วเสร็จ

3. ค้นหาแนวทางการดำเนินการ

เมื่อทราบปัญหา / เป้าหมาย และได้กำหนดขอบเขตสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ขั้นตอนถัดมาของการ Design Thinking คือ ค้นหาวิธีการในเชิงปฏิบัติ ว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ปิดงานแต่ละชิ้นได้ ในขั้นตอนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ

4. จำลองสถานการณ์ก่อนเริ่มดำเนินการ

การจำลองสถานการณ์ หรือสร้างตัวต้นแบบก่อนเริ่มดำเนินการ จะช่วยให้เราได้ทดสอบก่อนว่าแนวทางการปฏิบัติที่เราได้คิดขึ้นมาด้วยหลักการของการคิดเชิงออกแบบ ให้ผลลัพธ์ได้ดีแค่ไหน ซึ่งประโยชน์ของการจำลองสถานการณ์ก่อน เพื่อลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดหรือช่องโหว่ เพราะหากลงมือปฏิบัติไปแล้ว และมีพบว่ามีข้อผิดพลาด อาจสร้างผลกระทบไม่มากก็น้อย

5. ปรับปรุงแก้ไขผลการทดลอง

เมื่อได้ดำเนินการจำลองสถานการณ์ไปแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของ กระบวนการ Design Thinking คือ ปรับปรุงแผนก่อนลงมือปฏิบัติจริง เราสามารถทราบผลลัพธ์จากการจำลองสถานการณ์ไปแล้ว ซึ่งการพบข้อผิดพลาดไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่หากพบแล้วไม่ปรับปรุงแก้ไข สิ่งนี้จะสร้างผลกระทบอย่างแน่นอน 

เพราะทุกแผนการไม่สามารถสมบูรณ์แบบได้ในครั้งเดียว การปรับปรุงแนวทางการดำเนินการก่อนเริ่มปฏิบัติจริง จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญเป็นอย่างมาก

ประโยชน์ของ Design Thinking

Design Thinking กับการทำงานในองค์กร

จากที่กล่าวไว้ข้างต้น การทำงานโดยนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking ไปใช้ จะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้เป็นอย่างมาก ช่วยให่การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่สำหรับการทำงานรายบุคคล และทำงานเป็นทีม 

ดังนั้นสำหรับองค์กรที่อยากพัฒนา เติบโตให้มากขึ้น และรู้ตัวว่ายังไม่เคยลองใช้ Design Thinking มาก่อน ควรพิจารณานำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ เพราะ Design Thinking คือ กระบวนการคิดที่เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กรได้อย่างแน่นอน


By content