ภาวะการมีลูกยาก (Infertility) เรียกได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับคู่สมรสที่ต้องการมีลูก มีความสัมพันธ์ทางเพศมากกว่า 12-24 เดือนโดยไม่มีการใช้คุมกำเนิดใด ๆ แล้วยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดสำหรับคู่สมรสหลาย ๆ คู่ ซ้ำความเครียดนั้นยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์อีกด้วย
ด้วยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยมากขึ้นจึงเกิดวิธีใหม่เรียกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In-vitro Fertilization) และยังมีวิธีการปฏิสนธิของการทำเด็กหลอดแก้วที่เรียกว่า อิ๊กซี่ (ICSI) เป็นวิธีที่คู่สมรสปัจจุบันนิยมกันมากขึ้นเนื่องจากเจ็บตัวน้อยกว่า และโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น เรียกได้ว่า ICSI เป็นความหวังสำคัญสำหรับคู่สมรสที่ต้องการมีลูกกันเลยทีเดียว
การทำอิ๊กซี่ ICSI คืออะไร
การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคนิคการทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic Sperm Injection) นั้นเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (In-vitro Fertilization: IVF) โดยการนำเซลล์สืบพันธุ์ทั้งของทางฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมาปฏิสนธิกันภายนอกร่างกาย หรือ การผสมเทียม โดยการทำ ICSI นั้นจะเป็นการคัดเลือกตัวอสุจิที่คิดว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดเจาะฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง โดยไข่นั้นจะมาจากที่ดูดออกมาจากทางช่องคลอด(ไม่ต้องผ่าเหมือนGIFT) ไม่ต้องรอให้อสุจิไปเจอกับไข่เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิและโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น
ICSI อันตรายไหม เสี่ยงอะไรบ้าง
โดยปกติทั่วไปแล้วนั้น ICSI มีกระบวนการรักษาที่มีความปลอดภัย แต่กระนั้นมีอาจความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ได้โดยความเสี่ยงที่พบเจอจากการทำ ICSI นั้นมีดังนี้
- ภาวะรังไขตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS) – เกิดจากที่ร่างกายตอบสนองต่อยาที่ฉีดเข้าไปเพื่อกระตุ้นไข่มากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกายเช่น อาการท้องอืด, เจ็บที่บริเวณช่องท้องเวลากด คลื่นไส้อาเจียน อาจเกิดอาการรุนแรงหากไม่ได้รับการดูแลรักษา สามารถเลี่ยงความเสี่ยงนี้ได้หากคลินิกหรือโรงพยาบาลที่มีกระบวนการทำ ICSI ที่มีมาตรฐาน มีการตรวจติดอาการสม่ำเสมอและปรับยาตามความเหมาะสมเพื่อลดโอกาสการเกิด OHSS ได้
- ความผิดปกติของโครโมโซม – ข้อมูลจากงานวิจัยบางงานนั้น ผลพบว่าการรักษาด้วยวิธี ICSI อาจมีความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นกับการเกิดภาวะออทิสติก, ภาวะผิดความผิดปกติทางสติปัญญา และความผิดปกติโดยกำเนิด เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค IVF และ การตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ
- ไข่เสียหาย – ด้วยกระบวนการของ ICSI นั้นที่ใช้เข็มทำการสอดเข้าไปในไข่เพื่อนำอสุจิเข้าไปนั้น ด้วยลักษณะของไข่ที่มีความเปราะและบาง อาจเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการเลือกคลินิก หรือ โรงพยาบาลที่มีนักวิทยาศตร์ที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงในการทำให้ไข่เกิดความเสียหาย
- การเจริญพันธ์ุของเพศชาย – มีโอกาสเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่เด็กเพศชายที่เกิดจากกระบวนการ ICSI นั้นมีปัญหาการเจริญพันธุ์
ในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือว่า อัตราการเกิดข้อบกพร่องในเด็กที่เกิดมาจากกระบวนการ ICSI นั้นเป็นจำนวนที่แตกต่างจากประชากรทั่วไป
ความแตกต่างระหว่างการทำ ICSI และ IVF
หลายคนอาจสับสนว่า IVF นั้นคือ กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ส่วน ICSI นั้นก็เป็นหนึ่งในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วเช่นเดียวกันแล้วระหว่าง IVF กับ ICSI เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร โดยมีข้อสังเกตดังนี้
IVF (In-vitro Fertilization)
IVF นั้นเรียกได้ว่าเป็นวิธีกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วแบบปกติคือการที่นำไข่ที่เก็บมาจากฝ่ายหญิง จากวันที่นัดเก็บไข่ และ เก็บน้ำเชื้ออสุจิจากฝ่ายชาย นั้นมาปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ โดยให้ตัวอสุจิที่คัดมาแล้วนั้นปล่อยลงไปล้อมไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิอย่างธรรมชาติที่ตัวอสุจินั้นจะว่ายเจาะเข้าไปในไข่เอง การปฏิสนธินั้นจะเกิดในท่อนำไข่และเมื่อเพาะเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพแล้วจึงนำตัวอ่อนย้ายเข้าโพรงมดลูกต่อไป และจากนั้นแพทย์จะทำการนัดติดตามผลและ ตรวจเช็กเลือดและฮอร์โมนตามกระบวนการ
ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)
การทำอิ๊กซี่ (ISCI) นั้นเป็นกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่เหมือน IVF แทบทั้งหมด ต่างกันตรงที่การเกิดกระบวนการปฏิสนธิ จาก IVF ที่ให้ตัวอสุจิว่ายเจาะเข้าไปในไข่เองนั้น การทำ ICSI นั้นจะคัดเลือกตัวอสุจิที่คิดว่ามีประสิทธภาพดีที่สุด รูปร่างดีที่สุด เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วที่สุดเพียงตัวเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงใช้เข็มสอดเข้าไปยังไข่เพื่อนำอสุจิที่คัดเลือกมาตัวเดียวนั้นฉีดเข้าไปยังเซลล์ไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธินั่นเอง
รู้หรือไม่? การทำ ICSI ช่วยวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมได้
เนื่องจากกระบวนการที่ ICSI มีขั้นตอนที่ตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนแล้ว ยังสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของตัวอ่อนระยะก่อนฝังตัว (Preimplantation Genetic Diagnosis: PGD) ได้อีกด้วย โดยการตรวจโครโมโซมคู่ที่ผิดปกตินั้น จะตรวจคู่ 13, 18, 21, X และ/หรือ Y
โดยหากโครโมโซมคู่ที่ 21 ผิดปกตินั้นพบว่า มีความสัมพันธุ์กับกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) ซึ่ง
มักพบบ่อยในการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่มาอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
ซึ่งการทำ PGD นั้นจึงช่วยลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดความผิดปกติทางด้านพันธุกรรมของตัวอ่อนได้ หากในผู้ที่ตั้งครรภ์ตอนมีอายุมาก ( 35 ปีขึ้นไป) และมีประวัติความผิดปกติด้านพันธุกรรมในครอบครัว หรือในกรณีที่คู่สมรสเป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรม
การตรวจ PGD นั้นเป็นกระบวนการหลังจาก ICSI และนำไปเลี้ยงจนเจริญตัวอ่อนแล้ว จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ตัวอ่อน หากตัวอ่อนมีผลตรวจปกตินั้น จึงค่อยนำกลับไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป
ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่ ICSI
ขั้นตอนการทำ ICSI นั้นจะคล้ายคลึงกับ IVF ต่างกันตรงกระบวนการนำการปฏิสนธิโดยจะแบ่งเป็นข้อได้ดังนี้
1. การกระตุ้นไข่
หลังจากการที่ฝ่ายหญิงตรวจสภาพร่างกาย และผลออกมาว่ามีร่างกายที่อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม จะเริ่มการกระตุ้นไข่ มากกว่า 1 ใบ ด้วยการฉีดฮอร์โมน โดยจะฉีดต่อเนื่องประมาณ 8 – 14 วัน จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของไข่
2. การเก็บไข่และอสุจิ
หลังจากไข่โตสมบูรณ์แล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการเก็บไข่ และ อสุจิ
โดยทางฝ่ายหญิงนั้นจะทำการเก็บไข่โดยใช้เข็มเจาะดูดออกจากรังไข่ผ่านทางช่องคลอด เมื่อได้เซลล์ไข่มา จะถูกนำออกมาทำความสะอาดสำหรับเพาะเลี้ยง เพื่อรอนำไปปฏิสนธิ
ทางฝ่ายชายนั้น จะเก็บน้ำเชื้ออสุจิวันเดียวกับทางฝ่ายหญิงหรือภายใน 36 ชั่วโมง โดยหลั่งอสุจิภายในภาชนะที่จัดไว้ จากนั้นจึงนำน้ำเชื้อไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อคัดเลือกตัวอสุจิที่เหมาะสมสำหรับการทำ ICSI
3. การทำ ICSI
เมื่อเสร็จกระบวนการเก็บไข่ และ อสุจิ จึงเริ่มกระบวนการ ICSI โดยการนำอสุจิที่ถูกคัดเลือกตามเกณฑ์มาฉีดเข้าสู่ไข่ด้วยเข็มขนาดเล็กมากให้เกิดการปฏิสนธิข้างในเซลล์ไข่ โดยในไข่ 1 ฟองนั้นจะฉีดอสุจิเข้าไปเพียงตัวเดียวเท่านั้นจากนั้น นักวิทยาศาสตร์จะคอยติดตามผลว่าการปฏิสนธินั้นสำเร็จกลายเป็นตัวอ่อนหรือไม่
4. การเลี้ยงตัวอ่อน
เมื่อหลังจากปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนแล้วนั้น ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงภายใต้การดูแลในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยให้ใกล้เคียงกับสภาวะในร่างกายมากที่สุดในห้องปฏิบัติการเป็นระยะเวลา 5-6 วัน จนถึงระยะบาสโตซิสท์ (Blastosyct) ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนมีความแข็งแรงพร้อมย้ายกลับไปสู่โพรงมดลูก
5. ย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก
หลังจากตัวอ่อนพร้อมย้ายกลับสู่โพรงมดลูกแล้วนั้น แพทย์จะทำการย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกโดยการสอดสายย้ายตัวอ่อนหรือหลอดสำหรับย้ายตัวอ่อนเข้าไปผ่านช่องคลอดไปจนถึงโพรงมดลูก ควบคู่กับการใช้อัลตราซาวด์เพื่อดูตำแหน่ง จากนั้นจึงนำตัวอ่อนไปฝังตัวตรงตำแหน่งที่เหมาะสมในโพรงมดลูก
6. ตรวจการตั้งครรภ์
เมื่อทำการย้ายเสร็จสิ้นแล้ว และตัวอ่อนเริ่มฝั่งตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตแล้วนั้น หลังจากนั้น 7-10 วัน แพทย์จะนัดเจาะเลือดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ตรวจครรภ์เองเพราะอาจเกิดความผิดพลาดได้
ข้อดี – ข้อจำกัดของการทำ ICSI
การทำ ICSI นั้นมีข้อดีหลายข้อ ซึ่งช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากได้เป็นอย่างดี แต่กระนั้นยังมีข้อจำกัดโดยธรรมชาติ สภาพร่างกาย โดยจะแบ่งเป็นข้อได้ตามนี้
ข้อดี
- ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น ซึ่ง ICSI เป็นวิธีที่มีโอกาสสำเร็จมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะมีบุตรยาก
- ไม่ต้องผ่าหน้าท้อง เนื่องจากไม่มีการผ่าตัด
- ผู้หญิงและผู้ชายที่ทำหมันแล้วนั้น สามารถทำ ICSI ได้
- สามารถเก็บไข่และนำเชื้อได้นานถึง 10 ปี ด้วยเทคโนโลยีและการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
- คัดกรองโรคกลุ่มเสี่ยงได้เนื่องจาก กระบวนการ ICSI มีการคัดกรองตัวอสุจิและไข่ที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรมได้
ข้อจำกัด
- ราคาการทำ ICSI นั้นโดยทั่วไปสูงกว่า IVF เนื่องจากการทำ ICSI นั้นต้องใช้บุคลการที่ชำนาญสูงเพื่อลดอัตราการผิดพลาด และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
- มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะรังไข่กระตุ้นมากเกินไป การติดเชื้อจากการเก็บไข่ การคลอดก่อนกำหนด
- มีโอกาศตั้งครรภ์แฝด ที่มีความเสี่ยงในการแท้ง
- มีโอกาสแท้งสูงกว่าการตั้งครรภ์ปกติเล็กน้อย
- ใช้เวลาหลายวัน
แนวทางการดูแลตัวเองหลังทำ ICSI
หลังจากเสร็จสิ้นการทำเด็กหลอดแก้วแล้วนั้นการปฏิบัติตัวหรือการทำกิจกรรมต้องระวังไม่ให้กระทบต่อการส่งผลต่อปัจจัยการตั้งครรภ์ โดยมีข้อควรทำดังนี้
- หลังจากใส่ตัวอ่อนแล้วนั้นทางสถานที่ทำจะให้นอนพัก อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- งดการออกกำลังกายหนัก
- งดการยกของหนัก
- งดการรับประทานอาหารที่อาจให้เกิดท้องเสีย
- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ และ งดการล้างช่องคลอด
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ส่งผลต่อความเครียด เพราะอาจกระทบต่อฮอร์โมน
- หากมีไข้สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
- หากมีอาการ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก มีตกขาว ควรรีบมาพบแพทย์โดนทันที
ICSI ราคาเท่าไหร่
การทำ ICSI นั้นราคาค่อนข้างสูงกว่าการทำเด็กหลอดแก้วทั่วไป โดยมีราคาตั้งแต่หลัก 200,000 บาทไปจนถึง 500,000 บาทแล้วแต่สถานที่และโปรโมชั่น
ทำ ICSI ที่ไหนดี
การเลือกสถานที่ที่ในการทำเด็กหลอดแก้ว และ ICSI นั้นต้องเลือกให้เหมาะสม ทั้งเรื่องราคา และปัจจัยอื่นๆ ดังนี้
- เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้มาตรฐาน
- บุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
- ความสะอาด เพื่อความปลอดภัยในแต่ละขั้นตอน
- การบริการ สามารถส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์ของคนไข้ได้
ทางผู้เขียนบทความนั้นแนะนำศูนย์รักษาผู้มีบุตร Beyond IVF เนื่องจากทาง Beyond IVF นั้นมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้อย่างมาก ด้วยวุฒิบัตรการันตีถึงความรู้ และความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อีกด้วย อีกทั้งทางคลิกนักนั้น ได้มาตรฐานสูง สะอาด ปลอดภัย มีการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบ พร้อมผู้ให้คำแนะนำสำหรับผู้มีบุตรยาก
FAQs คำถามเกี่ยวกับ ICSI
ผู้อ่านอาจเกิดคำถามว่า ICSI นั้น มีความเสี่ยงมั้ย โอกาสสำเร็จเท่าไหร่ โดยอธิบายตามนี้
การทำ ICSI มีความเสี่ยงอะไรบ้าง
ICSI นั้นมีความเสี่ยงในเรื่องของการ ท้องอืดเนื่องจากรังไข่ตอบสนองมากเกินไป ไข่อาจเสียหายจากการสอดเข็มเพื่อส่งอสุจิเข้าไป และอาจเกิดการตั้งครรภ์แฝดจากการย้ายตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัวกลับสู่โพรงมดลูก
การทำ ICSI มีโอกาสสำเร็จเท่าไหร่
อัตราปฏิสนธิของตัวอ่อนจากการ ICSI นั้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 70% ส่วนอัตราการตั้งครรภ์นั้นอยู่ที่ 40 – 70% ทั้งนี้อัตราการสำเร็จขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก, อายุ, และปัจจัยอื่น ๆ
ทำ ICSI เลือกเพศได้ไหม ทำลูกแฝดได้หรือไม่
ICSI นั้นไม่สามารถเลือกเพศได้ แต่สามารถรู้ถึงเพศได้จาการตรวจโครโมโซม ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม
สำหรับลูกแฝดนั้น ICSI สามารถทำลูกแฝดได้ โดยการนำตัวอ่อน 2 ตัวฝังเข้าผนังมดลูกพร้อมกันได้ ทำให้เกิดครรภ์แฝดเทียม แม้ว่าไม่ใช่ครรภ์แฝดแท้ แต่ตัวอ่อนที่ผ่านกระบวนการทำ IVF หรือ ICSI นั้นแข็งแรงมากกว่าครรภ์แฝดแท้ เพราะเนื่องจากไม่แย่งสารอาหาร และสายรกไม่พันคอกัน
ข้อสรุป
หากใครที่สนใจในการทำ IVF อยู่แล้วนั้นการทำ ICSI นั้นถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากเป็นวิธีที่มีโอกาสสำเร็จที่สูง และยังช่วยในเรื่องลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมอีกด้วย หากท่านไหนที่มีปัญหา หรือ สงสัยว่าตนเองนั้นเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยากหรือไม่ ลองไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา เพื่อวางแผนในการมีลูกต่อไปได้