ช่วงตกไข่ถือเป็น Golden Hour หรือช่วงเวลาสำคัญสำหรับคนที่กำลังวางแผนมีบุตร เพราะช่วงตกไข่เป็นช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุด บทความนี้เราจะมาพูดถึงอาการไข่ตก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังเตรียมตัวมีลูก ได้สังเกตและวางแผนช่วงเวลาสำหรับการมีบุตรของตัวเอง ถ้าอยากรู้แล้วว่าอาการไข่ตกเป็นอย่างไร ช่วงระยะเวลาไข่ตกมีกี่วัน แล้วสัญญาณเตือนสำหรับอาการไข่ตกมีอะไรบ้าง เพื่อน ๆ สามารถหาคำตอบของทุกคำถามได้ในเนื้อหาของบทความนี้
อาการไข่ตกคืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง
อาการไข่ตก (Ovulation) คืออาการที่เกิดขึ้นในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่เกิดขึ้นจากการที่ไข่ที่อยู่ภายในถุงน้ำสุก แล้วไหลลงมายังท่อนำไข่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผสมพันธุ์ โดยช่วงตกไข่จะเกิดขึ้นในทุกเดือน ในระยะ 25-35 วันนับจากวันที่มีประจำเดือน ซึ่งอาการไข่ตกของแต่ละคนก็จะเกิดขึ้นไม่เหมือนกัน
อย่างที่เราได้บอกไปว่าอาการไข่ตกเป็นอาการที่เกิดขึ้นทุกเดือน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสัญญาณเตือนของความพร้อมในการปฏิสนธิที่ร่างกายแสดงออกมา หลายคนอาจมีคำถามว่า หากเรามีอาการไข่ตกแล้วไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงนั้นจะเกิดอะไรขึ้น เราต้องบอกว่าหากเพื่อน ๆ มีอาการไข่ตกแล้วไม่ได้มีเพศสัมพันธ์หรือมีการปฏิสนธิในช่วงนั้น ไข่ที่สุกและไหลลงมายังท่อนำไข่จะหลุดออกมากลายเป็นประจำเดือนที่เรามีกันทุกเดือน
อาการไข่ตกเป็นอย่างไร มีอาการอะไรบ้าง
หลังจากทราบกันแล้วว่าอาการไข่ตกคืออะไร แล้วจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาไหน หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงอาการที่จะเกิดขึ้นในช่วงไข่ตก เพื่อให้คุณแม่มือใหม่สามารถสังเกตและคาดคะเนช่วงเวลาตกไข่ของตัวเองได้ง่ายยิ่งขึ้น อาการไข่ตกจะมีอะไรบ้างมาดูกัน
- อารมณ์และประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลง: ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจทำให้สาว ๆ บางท่านมีอารมณ์ที่สวิง และมีประสาทสัมผัสที่ไวขึ้นในช่วงไข่ตก
- เกิดมูกตกขาวบริเวณปากมดลูก (Cervical mucus): อาการไข่ตกเกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย สิ่งนี้ทำให้สาว ๆ หลายท่านเกิดตกขาวที่มีลักษณะเป็นมูกสีใส ขาว และยืดในช่วงเวลาไข่ตก
- อารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น: แน่นอนว่าฮอร์โมนที่พุ่งสูงขึ้น มักจะมาพร้อมกับอารมณ์ทางเพศที่เพิ่มมากขึ้นเสมอ การที่มีแรงขับทางเพศหรือน้ำหล่อลื่นเพิ่มมากขึ้น เป็นหนึ่งในอาการไข่ตกที่เกิดขึ้นได้ในช่วงตกไข่
- อาการคัดเต้านม: หนึ่งในอาการไข่ตกที่สาว ๆ หลายคนมักจะเป็น ในช่วงตกไข่ สาว ๆ อาจมีอาการเจ็บ คัด หรือเกิดอาการปวดบริเวณเต้านม ในบางรายเต้านมอาจมีขนาดที่บวมใหญ่ขึ้นจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง
- ปากมดลูกขยายตัว: ในช่วงไข่ตกปากมดลูกจะเกิดการขยายตัว นุ่มขึ้น และอยู่ในบริเวณที่สูงขึ้นจากเดิม เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
- รู้สึกตัวร้อน: ในช่วงตกไข่หลายคนอาจมีอุณหภูมิภายในร่างกายที่สูงขึ้นประมาณ 1 องศา ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในอาการไข่ตกที่เกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน
- ปวดหน่วงท้อง: อาการปวดหน่วงท้องสามารถเกิดขึ้นได้ช่วงไข่ตก เนื่องจากช่วงเวลานั้นจะเป็นช่วงเวลาที่ไข่ภายในรังไข่ไหลลงไปยังท่อนำไข่ ทำให้สาว ๆ บางท่านเกิดอาการปวดหน่วงบริเวณอุ้งเชิงกราน
อาการไข่ตกจะเกิดขึ้นทั้งหมดกี่วัน
หลังจากทราบอาการที่เกิดขึ้นในช่วงไข่ตกกันแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าอาการไข่ตกที่เราได้กล่าวไปข้างต้นจะกินเวลานานเท่าไหร่ เราต้องบอกว่าอาการไข่ตกจะเกิดขึ้นประมาณ 7 วันก่อนที่จะเกิดภาวะตกไข่ โดยช่วงนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่มีความผันผวนของฮอร์โมนมากที่สุดในรอบเดือน ซึ่งฮอร์โมนที่ผันผวนจะทำให้สาว ๆ มีอาการไข่ตกเกิดขึ้น เพื่อเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่ทำให้ทราบว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปฏิสนธิมาถึงแล้ว
ไข่ตกอยู่ได้ทั้งหมดกี่วัน
อาการไข่ตกจะเกิดขึ้นเพียง 24 ชั่วโมงในทุก ๆ รอบเดือนเท่านั้น ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นเหมือนช่วงนาทีทองสำหรับคู่สามีภรรยาที่กำลังวางแผนสำหรับการมีบุตร เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สามารถตั้งครรภ์ได้ง่ายที่สุด คู่รักหลายคู่จึงนับและเฝ้าสังเกตอาการไข่ตกกันทุกเดือน เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตั้งครรภ์
สรุปอาการไข่ตก
สำหรับท่านที่กำลังวางแผนมีบุตร อาการไข่ตกถือเป็นสัญญาณสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สามารถตั้งครรภ์ได้ง่ายที่สุด แต่อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่าอาการไข่ตกที่เกิดขึ้นในแต่ละตัวบุคคลจะมีอาการที่ไม่เหมือนกัน บางคนก็อาการไข่ตกปวดหัว อาการไข่ตกปวดท้องน้อย อาการไข่ตกตัวร้อน และยังมีอาการอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ควรสังเกตอาการของตัวเองทุกครั้ง เพื่อความแม่นยำในการกำหนดวัน-เวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์