เมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์ไม่ดีต่าง ๆ เช่น เกิดอุบัติเหตุ ทะเลาะกับคนในครอบครัว ปัญหาในหน้าที่การงาน การเรียน ปัญหาสุขภาพร่างกาย และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล และเกิดความเครียด พอผ่านเหตุการณ์จากตรงจุดนั้นมาได้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งความรู้สึกเหล่านั้นก็ตามค่อย ๆ หายไป ซึ่งเป็นภาวะความเครียดสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลจะมีความแตกต่างจากคนทั่วไป
เนื่องจากว่าผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะมีอาการเครียดวิตกกังวล เป็นระยะเวลานานมากกว่าคนทั่วไป และผู้ป่วยโรควิตกกังวลมักจะไม่สามารถจัดการกับอาการวิตกกังวลกลัว หรือความรู้สึกหวาดกลัว และความเครียดที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวล ไม่จำเป็นจะต้องเจอกับเหตุการณ์ บางคนอยู่เฉย ๆ อาการเหล่านั้นก็เกิดขึ้นมาเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบรบกวนกับการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
ต้องรู้! โรควิตกกังวลคืออะไร
โรควิตกกังวล หรือโรค anxiety คือ โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เกิดความผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานในส่วนของสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรควิตกกังวล มักจะเกิดความเครียด ความกลัว และความวิตกกังวลมากกว่าปกติในเรื่องต่าง ๆ เช่น มีปากเสียงกับคนในครอบครัวหรือคนรัก เกิดอุบัติเหตุรถชน โดนดุด่าว่าร้ายจากคนรอบตัว และปัญหาสุขภาพร่างกาย
อาการ anxiety ส่งผลกระทบในทางลบให้กับผู้ป่วยโรควิตกกังวล เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะไม่สามารถควบคุม หรือจัดการกับความรู้สึกให้หายเป็นปกติได้ด้วยตนเอง
อาการของโรควิตกกังวล สามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ
ผู้ป่วยโรควิตกกังวลเมื่อเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจะมีลักษณะทางความคิดที่เกิดขึ้น คือความวิตกกังวล ความกลัว และความเครียดทันในที และจะแสดงอาการโรควิตกกังวล วิตกกังวลมากเกินไปหรือนานเกินไป ซึ่งอาการโรควิตกกังวลสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ทางอารมณ์และความคิด
- เกิดความวิตกกังวล ความกลัว กระวนกระวาย รู้สึกเหมือนกำลังจะเกิดเรื่องร้ายกับตนเอง
- รู้สึกกังวลเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากเกินไป และอาจจะนานกว่าคนทั่วไป
- ผู้ป่วยโรควิตกกังวลมักจะรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- ผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลโดยส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการนอนหลับ นอนกลับยาก และอาจจะนอนไม่ค่อยหลับ
- รู้สึกหงุดหงิด หัวร้อน ฉุนเฉียว กับเหตุการณ์ หรือบางสิ่งบางอย่างได้ค่อนข้างง่าย
- มักจะมีปัญหาในเรื่องของการจดจ่อ หรือสมาธิ เพราะผู้ป่วยจะคิดแต่เรื่องร้ายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา
- ผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะชอบบั่นทอนจิตใจ บั่นทอนคุณค่าของตัวเอง รู้สึกเหมือนตัวเองไร้ค่า และไร้ความสามารถ
- ทางกายภาพ
- หายใจติดขัด หายใจเข้าออกเป็นถี่ ๆ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลหัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติ ใจสั่น
- เหงื่อจะไหลออกมาตามร่างกายเยอะกว่าปกติ เช่น มือ ใบหน้า
- ตรงบริเวณมือและเท้าจะรู้สึกร้อนวูบวาบหรือรู้สึกเย็น
- ผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะหน้ามืด ตาพร่า วิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม
- ภายในท้องปั่นป่วน ปวดท้อง และคลื่นไส้ อยากอาเจียนออกมา
- กล้ามเนื้อจะเกร็ง กล้ามเนื้อตึง
- เมื่อเกิดอาการวิตกกังวลจะปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
- ตรงบริเวณริมฝีปากจะมีลักษณะสีซีด ปากแห้ง
อาการวิตกกังวลเครียดที่เกิดขึ้นจากโรควิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ และความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่แต่ละบุคคล อาการอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน บางครั้งจะส่งผลกระทบทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงาน หรือการดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ผู้ป่วยโรควิตกกังวลสามารถรักษาโรควิตกกังวลด้วยตัวเอง โดยวิธีนั่งสมาธิ หรือพยายามเตือนสติให้อยู่กับตัวเอง แต่ถ้าหากทำแล้วไม่ดีควรรีบไปพบแพทย์ หรือไปโรงพยาบาลในทันที
การวินิจฉัยโรควิตกกังวลที่เกิดขึ้น
เบื้องต้นทางแพทย์หรือจิตแพทย์จะสอบถามประวัติข้อมูล เช่น สภาพจิตใจ โรคประจำวัน การใช้ชีวิตในแต่ละวัน เหตุการณ์ที่ฝังใจ และตรวจร่างกายผู้ป่วยโรควิตกกังวลอย่างละเอียด เพื่อประเมินอาการโรคขี้กังวลและหาสาเหตุของความวิตกกังวลอาการที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย และทางแพทย์อาจใช้เครื่องมือประเมินโรคทางจิตเวชกับตัวผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลเพราะผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลบางคนอาจจะเป็นคนที่ชอบเรียกร้องความสนใจกับคนรอบข้าง หรือมีบุคลิกพฤติกรรมที่ทำให้แพทย์รับรู้และวินิจฉัยผู้ป่วยได้ว่าเป็นโรคทางจิตเวชเพื่อช่วยให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเครื่องมือประเมินโรคทางจิตเวชจะเป็นรูปแบบทดสอบโดยให้ผู้ป่วยทำแบบทดสอบประเมินให้คะแนนตัวเอง หลังจากนั้นหากพบว่าผู้ป่วยโรควิตกกังวลซึมเศร้าร่วมด้วย และโรคอื่น ๆ เช่น โรคจิตเภท โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เมื่อแพทย์พบว่าผู้ป่วยเป็นกลุ่มโรคเหล่านี้ ทางแพทย์จะเริ่มวินิจฉัยต่อในส่วนของโรคย่อยอื่น ๆ ตามอาการที่ผู้ป่วยเกิดขึ้นบ่อยๆ เช่นโรคแพนิค โรควิตกกังวลทั่วไป และโรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง เป็นต้น
การรักษาโรควิตกกังวลมีวิธีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยโรควิตกกังวล สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุ เช่น มีเรื่องฝังใจในตอนเด็กจนทำให้รู้สึกหวาดกลัว อึดอัด เมื่อต้องพบเจอกับสิ่งนั้นอีกครั้ง มีปัญหาเกี่ยวกับโรคภัย ปัญหาสุขภาพร่างกาย เกิดความขัดแย้งกับคนในครอบครัว ปัญหาเรื่องหน้าที่การงาน เรื่องเรียนหนังสือและอื่น ๆ วิธีรักษาโรควิตกกังวลที่เกิดขึ้นมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือรักษาด้วยยา และรักษาด้วยจิตบำบัด
- รักษาด้วยยา
เมื่อผู้ป่วยโรควิตกกังวลเข้ารับการรักษากับแพทย์ด้วยวิธีประทานยา ยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาในกลุ่มของ SSRI ยากลุ่ม Benzodiazepines เป็นยาต้านอาการซึมเศร้า ยาคลายกังวล และยาต้านอาการจิตเวชอื่นๆ ที่จะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง และช่วยบรรเทาอาการให้เบาลงได้
- รักษาด้วยจิตบำบัด
รักษาด้วยจิตบำบัด คือเข้ารับคำแนะนำคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม เรียนรู้วิธีรับมือกับปัญหาเมื่อเกิดความวิตกกังวลขึ้น เข้าใจถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจากสิ่งใด และควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการขึ้น และอาจให้ผู้ป่วยโรควิตกกังวลเข้าร่วมบำบัดแบบกลุ่มช่วยผู้ป่วยได้เรียนรู้จากโรควิตกกังวลประสบการณ์ของผู้อื่น นำกลับไปปรับใช้กับตนเองได้
วิธีรักษาโรควิตกกังวลด้วยวิธีประทานยารักษาและจิตบำบัดนั้น จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น
วิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรควิตกกังวล
วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรควิตกกังวลรักษาด้วยตนเอง จะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยจะมีวิธีต่อไปนี้
ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลหรือคาเฟอีนสูง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด
ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย
- ฝึกหายใจเข้าหายใจอย่างช้า ๆ
- ฝึกยืดกล้ามเนื้อ ไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็ง
- ฝึกจินตนาการเชิงบวก นึกถึงภาพหรือสถานการณ์ที่มีความสุข
หาจิกรรมทำช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
- เล่นกีฬา
- ฟังเพลง
- อ่านหนังสือ
- พูดคุยกับคนในครอบครัว
โรควิตกกังวล ป้องกันได้อย่างไรบ้าง
สำหรับผู้ป่วยโรควิตกกังวล วิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการวิตกกังวลเกิดขึ้น มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นของอาการวิตกกังวล
- หากิจกรรมที่ให้ความรู้สึกมีความสุขหรือผ่อนคลาย
- ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาเสพติด
โรควิตกกังวล ต้องฝึกตนเองให้คิดบวก
โรควิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยสาเหตุที่เกิดขึ้นจากความเครียด การทำงานของสารเคมีในสมองผิดปกติ และอื่น ๆ สร้างความยากลำบากการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ถึงอย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ต้องพบเผชิญโรควิตกกังวล ต้องฝึกทักษะการเผชิญปัญหาให้กับตนเองง่าย ๆ เพียงแค่มองโลกในแง่บวกให้มากขึ้น ใจดีกับตนเอง ทำความเข้าใจถึงชีวิตที่ต้องมีทั้งเรื่องดีและไม่ดีปะปนกันไป ผู้ป่วนควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้วิธีรักษาที่ถูกต้องและให้ผู้ป่วยได้หายจากโรควิตกกังวล