ท่อ HDPE หรือโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง เป็นตัวเลือกที่ดีมากสำหรับผู้ที่ต้องการหาวัสดุที่จะนำมาทำเป็นท่อประเภทต่างๆ โดนจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ ท่อประเภทนี้มีความทนทานในสภาพแวดล้อมประเภทต่างๆ นับว่าเป็นโซลูชันที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการทำระบบท่อน้ำ เนื่องจากวัสดุจากท่อ HDPE มีความแข็งแรงทนทานแรงทับ แรงกดได้ดี
อีกทั้งยังสามารถทนทานต่อสารเคมีและการกัดกร่อนเป็นพิเศษจึงทำให้ท่อประเภทนี้เป็นวัสดุที่น่าจับตา และเป็นที่สนใจสำหรับช่างมือใหม่เป็นอย่างมาก ในบทความนี้เราจะมาแนะนำตั้งแต่ ท่อ HDPE คืออะไร, บอกถึงท่อ HDPE ขนาดต่างๆ และ รูปแบบของลักษณะข้อต่อจากที่สามารถใช้ร่วมกันได้ หากท่านเริ่มสนใจแล้วก็สามารถอ่านต่อที่ด้านล่างนี้ได้เลยครับ
ท่อ HDPE คืออะไร
ขอขอบคุณรูปภาพจาก srpegroup.co.th
โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง หรือท่อ HDPE คือ วัสดุประเภทโพลิเมอร์เทอร์โมพลาสติกที่นิยมมากในการที่ใช้สำหรับงานท่อ เนื่องจากถ่อประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีความแข็งแรง ทนทาน และทนทานต่อสารเคมีและการกัดกร่อนได้ดีมากๆ ในปัจจุบันท่อ HDPE มีให้เลือกหลายขนาดและหลายรูปแบบที่ถูกใช้ไปตั้งแต่น้ำเพื่อการเกษตรไปจนถึงการจัดการน้ำเสียจากอุตสาหกรรม
ท่อ HDPE มีข้อดีอย่างหนึ่ง คือความคุ้มค่า แม้ว่าราคาท่อ HDPE อาจสูงกว่าวัสดุอื่นๆ และจะแตกต่างกันออกไปตามขนาดของตัวท่อเองครับ แต่ก็มีข้อดีคืออายุการใช้งานที่ยาวนานและมีค่าบำรุงรักษาต่ำ จึงทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะมากเมื่อเราใช้งานม่อนี้เป็นระยะเวลานานๆ นอกเหนือจากความทนทานแล้วท่อ HDPE ยังมีน้ำหนักเบาและง่ายต่อการขนส่ง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ช่วยให้เราลดต้นทุนการขนส่งและลดต้นทุนการจัดการด้านต่างๆ จากท่อประเภทนี้ได้
สิ่งที่ควรรู้สำหรับอุปกรณ์ท่อ HDPE และเราสามารถติดตั้งได้กี่แบบบ้าง?
ขอขอบคุณรูปภาพจาก srpegroup.co.th
เนื่องจากเราก็กล่าวถึงเรื่องท่อๆ แล้ว สิ่งต่อมาที่ควรรู้เลยก็คือ การต่อ HDPE โดยในปัจจุบันการเชื่อมหรือต่อท่อ HDPE เนี่ย มีอยู่ด้วยกันสองแบบ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะเฉพาะและข้อดีที่แตกต่างกันไป โดยการติดตั้งท่อ HDPE ที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้
1. ข้อต่อท่อ HDPE แบบสวมล็อค
การใช้ข้อต่อเป็นข้อต่อสวมอัดที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับขนาดท่อ pe และ HDPE จะมีขนาดตั้งแต่ 20-110 มม. โดยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้กาวเลยครับ เนื่องจากตัวข้อต่อจะมาพร้อมกับตัวขันเกลี่ยวเพื่อสร้างการเชื่อมต่อของท่อสองเส้นที่ปลอดภัย และแข็งแรงมาก
2. ข้อต่อท่อ HDPE แบบเชื่อม
วิธีนี้เกี่ยวข้องกับการเชื่อมท่อ HDPE เข้าด้วยกันโดยใช้ความร้อนครับ เทคนิคนี้เกี่ยวข้องกับการให้ความร้อนแก่ท่อทั้งสองด้านเพื่อเชื่อมจนพลาสติกละลาย สร้างพื้นที่ผิวต่อเนื่องที่หลอมรวมผนังท่อเดียวกัน ซึ่งท่อ HDPE จะเชื่อมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เฉพาะ จึงจะสามารถทำได้
3. ข้อต่อท่อ HDPE แบบ Electro Fusion
การเชื่อมข้อต่อแบบ Electro Fusion ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการเชื่อมต่อท่อ HDPE เช่นกัน ซึ่งวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ เพื่อใช้ความร้อนและแรงกดที่ปลายท่อ หลอมอุปกรณ์ และเชื่อมปลายท่อเข้าด้วยกัน วิธีนี้มักใช้กับท่อที่มีขนาดใหญ่ และใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ การเชื่อมข้อต่อด้วยไฟฟ้า(Electro Fusion) จะสร้างข้อต่อที่แข็งแกร่ง ซึ่งทนทานต่อการรั่วไหลและการกัดกร่อน ทำให้เป็นตัวเลือกยอดเยี่ยมสำหรับการใช้งานท่อที่หลากหลาย
4. ข้อต่อท่อ HDPE แบบเชื่อมสอดนอก-ใน (Socket Fusion)
Socket Fusion เป็นวิธีที่ใช้ในการเชื่อมท่อ HDPE เข้าด้วยกัน วิธีนี้เป็นการให้ความร้อนที่ปลายท่อเพื่อหลอมละลายผิวภายนอกและผิวภายใน สำหรับเชื่อมผิวภายนอกแนะในเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการสร้างข้อต่อที่แข็งแรงและปลอดภัย เทคนิคนี้มักใช้กับท่อขนาดเล็ก และทำการติดตั้งในสถานการณ์ที่ต้องการข้อต่อที่ความแม่นยำสูง ซ็อกเก็ตฟิวชั่น(Socket Fusion) เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับใครก็ตามที่ต้องการเชื่อมต่อท่อ HDPE เพื่อความแข็งแรงต่อการใช้งาน
สรุป
ท่อ HDPE เป็นทางเลือกที่ทนทาน ยืดหยุ่น และทนต่อการกัดกร่อนสำหรับการใช้งานต่างๆ เวลาติดตั้งก็ให้เลือกขนาด ชนิด และวิธีการที่เหมาะสมตามสถานที่และงบของท่านได้เลยครับ โดยราคาท่อ HDPE จะแตกต่างกันไปตามขนาดและประเภท ซึ่งเราสามารถเชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกัน โดยใช้ข้อต่อแบบบีบอัด, การเชื่อมด้วยความร้อน, เชื่อมท่อแบบ Electro Fusion, และแบบเชื่อมสอดนอก-ใน
โดยวิธีดังกล่าวที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปครับ ส่วนการเลือกรูปแบบการต่อหรือเชื่อมท่อนั้นจะขึ้นอยู่กับสถานที่ รูปแบบ และขนาดของท่อ HDPE ด้วยเช่นกัน ถ้ามีอุปกรณ์จากท่อ Pe ร่วมด้วยก็สามารถเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานโดยรวมได้ด้วยครับ