ปวดหัวตุ๊บๆ หรือ ปวดหัวจิ๊ดๆ เป็นอาการปวดหัวที่เป็นได้ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ดังนั้นอาการปวดศีรษะประเภทนี้ จึงเป็นสิ่งที่ครอบคลุมทุกคน ทำให้เราควรให้ความสำคัญกับอาการปวดหัวเหล่านี้ โดยแต่ละอาการของการปวดหัว ก็แบ่งออกได้หลากหลาย จำแนกความหนักของอาการได้จากตำแหน่งที่เราปวด ดังนั้น เราจะมาเจาะลึกสาเหตุของอาการปวดหัว ตำแหน่งต่าง ๆ ของบริเวณศีรษะ กำลังบอกอะไรกับร่างกายเรา
อาการปวดหัวบอกถึงโรคอะไรบ้าง
ปวดหัวข้างเดียว
อาการปวดหัวข้างเดียวเบื้องต้น จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นอาการไมเกรน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้ความคิดในทำงานหนัก หรืออาการล้าจากการใช้สายตา โดยวิธีแก้ไมเกรน ด้วย ตัว เอง สามารถทำได้ด้วยการกินยา และวิธีแก้ปวดหัว ไม่กินยาจากอาการไมเกรนคือการพักผ่อน
ปวดหัวข้างซ้าย
หากมีอาการปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดหัวข้างซ้าย หากไม่ได้ปวดหนัก อาจจะเป็นอาการจากไซนัสอักเสบ เครียดจนปวดหัว ไมเกรน หรือปวดหัวเพราะหูไวต่อเสียง ตาไวต่อแสงเกินไป เราสามารถแก้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ หรือทานยา
ปวดหัวข้างขวา
การปวดหัวเฉพาะส่วนของศีรษะข้างขวา ปวดหัวจี๊ดๆข้างขวาเป็นพักๆ จะมีสาเหตุที่ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรืออาการข้างเคียงของไข้ หรือระบบประสาท รวมไปถึงสาเหตุที่มาจากกรรมพันธุ์ เบื้องต้นหากเราปวดหัวตื้อๆทุกวัน ให้พบแพทย์ แต่หากปวดหัวข้างขวาบางครั้ง ก็ให้วินิจฉัยตามความเหมาะสม
ปวดหัวไมเกรน
เป็นอาการที่วินิจฉัยมาจากการปวดหัวข้างเดียว โดยวิธีแก้ปวดหัวไมเกรน ยาแก้ปวดหัว หรือการพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย งดการใช้ความคิด หรือเครียดจากการทำงานด้วยการพักผ่อน หากมีการปวดหัวมาก ต้องแก้ปัญหาด้วยการงดกิจกรรม พักผ่อน กินยา
ปวดหัวด้านหลัง
หากเราปวดหัวด้านหลัง หรือบางทีปวดท้ายทอยมึนหัวตาพร่า มีสาเหตุมาจากการใช้สายตาที่หนัก ทำให้ปวดกระบอกตา และท้ายทอย รวมไปถึงการกินเครื่องดื่มคาเฟอีนมากจนเกินไป บางรายอาจมีการปวดหัวแทรกซ้อน มึน ๆ จากบริเวณอื่นรอบหัว
ปวดหัวท้ายทอย
หากปวดหัวที่บริเวณท้ายทอย หรือบริเวณคอ หรือบางรายลามไปถึงกะโหลก อาจจะเป็นอาการของออฟฟิศซินโดรม หรือการนั่งนานเกินไป ทั้งการนั่งขับรถนานเกินไป หรือนั่งเล่นสมาร์ตโฟนในท่าเดิม แต่หากลามหรือแทรกซ้อนไปถึงกะโหลกบริเวณท้ายทอย ควรพบแพทย์
ปวดหัวคลัสเตอร์
ปวดหัวคลัสเตอร์ ปวดหัวเหมือนโดนบีบขมับ โดยอาการปวดหัวคลัสเตอร์จะเป็นการปวดหัวอย่างรุนแรง ทั้งปวดสองข้าง กระบอกตา หรือเป็นข้างเดียวหนัก ๆ น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ปวดหัวทั้งหัว เป็นการปวดหัวเกี่ยวกับระบบประสาทสมองคู่ที่ 5
วิธีรักษาตัวเองจากอาการปวดหัว
- วิธีแก้ปวดหัว ไม่กินยา หากเรายังไม่ต้องการรับประทานยา หรือยังไม่พร้อม ให้งดกิจกรรมที่ใช้ความคิด หรือพักผ่อนให้หัวผ่อนคลาย จะช่วยลดอาการปวดหัวเบื้องต้นได้
- รับประทานยา เครื่องดื่มแก้ปวดหัว รับประทานยาในกลุ่มของ Ergot, Triptans และเลือกรับประทานยาตามคำแนะนำของเภสัช และแพทย์
- หมั่นออกกำลังกาย เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว และให้ออกกำลังหลังจากหายอาการ เพราะจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น หรือหากปวดหัวอยู่ ให้ลองขยับร่างกายเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลเวียนมากขึ้นจะช่วยได้
- ดื่มน้ำ ช่วยให้กระบวนการทำงานในร่างกาย สมดุลขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการป่วยจากการปวดหัว
- ดมน้ำมันหอมระเหย ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวจี๊ดๆได้ ด้วยตัวยาที่ได้จากสมุนไพร สกัดจนเป็นน้ำมันหอมระเหย จะทำให้ตัวยาเข้าไปช่วยลดการอักเสบ ระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ให้อาการปวดหัวและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ บรรเทาลงได้
วิธีดูแลตัวเองจากอาการปวดหัว
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายมีกระบวนการทำงานที่แข็งแรง ลดอาการปวดหัวจากข้อบกพร่องเกี่ยวกับปัญหาเรื้อรังของร่างกาย
- ออกกำลังกาย ให้เลือดสูบฉีด ลดปัญหาความอ้วน ที่ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง แต่อย่าหักโหมมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดความเครียด และมีปัญหาปวดศีรษะ
- หมั่นออกไปพบแพทย์ และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาสาเหตุหรือความผิดปกติของร่างกาย อันทำให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรัง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเครียด ให้ปลีกตัว หรือปรับพฤติกรรมใหม่ หากจำเป็น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปวดหัว
1.ปวดหัวเบ้าตา กระบอกตา เกิดจาก
การปวดตามีหลายสาเหตุ ผสมกับการปวดหัวไปด้วย มักจะเกิดจากกล้ามเนื้อตาล้า ใช้สายตามากเกินไป โรคไมเกรน ไซนัสอักเสบ โดยต้องดูอาการปวดหัวบริเวณอื่นๆ เช่น ปวดท้ายทอยมึนหัวตาพร่า เพื่อวินิจฉัยไปด้วย
2.ปวดหัวบ่อย ไม่หาย อันตรายไหม?
อาการปวดหัวบ่อย และเป็นแบบเรื้อรัง ค่อนข้างอันตราย เพราะมีแนวโน้มว่าอาการจะหนักกว่าเดิม อาจต้องพิจารณาจากพฤติกรรม และตำแหน่งศีรษะที่ปวดเบื้องต้นก่อน หากลองแก้แล้วไม่หาย ต้องรีบเข้ารับคำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน
3.ปวดเบ้าตาปวดหัวมีวิธีแก้อย่างไร
วิธี แก้ปวดหัว เร็ว ที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเบ้าตาด้วย ปวดหัวไปด้วย เริ่มต้นให้พักสายตาก่อน หยุดทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ตาโดยด่วน และรับประทานยาเพื่อลดอาการปวดหัวลง เน้นการพักผ่อนเป็นหลัก ดื่มน้ำให้มาก ๆ
สรุปอาการปวดหัว
อาการปวดหัว ปวดตา หรือปวดส่วนอื่นๆรอบศีรษะ เห็นได้ชัดว่ามาจากหลายสาเหตุมาก แต่เบื้องต้น หากเรารู้วิธีจัดการกับอาการปวดหัวได้ถูกวิธี ก็จะบรรเทาอาการได้ พร้อมรักษาอาการไม่ให้ลุกลามได้อย่างตรงจุด สำคัญคือเราห้ามรับประทานยาแปลกๆ หรือสมุนไพรที่ไม่มีการรับรองจากแพทย์ เพราะหากปวดหัวหนัก อาจจะทำให้เราต้องเข้ารับการรักษา และเสียค่ารักษามากกว่าเดิม ทางที่ดีปรึกษาแพทย์ดีที่สุด